วันอังคารที่ 30 สิงหาคม พ.ศ. 2554

แนวข้อสอบ วิชากายวิภาคเพื่อการออกแบบ


ข้อสอบกายวิภาคศาสตร์เพื่อการออกแบบ
.............................................................................................................................................................
1.              ระบบโครงกระดูก ( skeletal  system) ของมนุษย์มีกี่ชิ้น
1.              602  ชิ้น
2.              206  ชิ้น
3.              260  ชิ้น
4.              260  ชิ้น
2.              หน้าที่ของกระดูกที่สำคัญคือ
1.              เป็นโครงของร่างกาย
2.               ป้องกันอวัยวะสำคัญ เช่น กระโหลกศีรษะป้องกันสมองแหล่งสร้างเม็ดเลือดแดง โดยสร้างจาก ไขกระดูก“Bone Marrow”   
 3.   แหล่งสะสมแร่ธาตุต่างๆ เช่นแคลเซี่ยมฟอสเฟต
4.    ถูกทุกข้อ
3.  ข้อต่อไปนี้ผิด กระดูกแกนกลาง(Axial skeleton) คือ  (ยกเว้น)
                                1.  กระดูกแขน(Humerus)
                                2.  กระดูกขา(Femur)
                                3.  กระดูกซี่โครง(Ribs)
                                4.  กระดูกสันหลัง(Axial skeleton)
4.  กระดูกระยางค์ (Appendicular skeleton) ประกอบไปด้วย..(ยกเว้น)
                                1.  กระดูกสันหลัง(Axial skeleton)
                                2.  กระดูกต้นแขน (Humerus)
                                3.  กระดูกต้นขาขา (Femur)
                                4.  กระดูกซี่โครง (Ribs)
5.  ข้อต่อไปนี้คือกระดูกแข็ง (compact  bones)
                                1.  กระดูกต้นขาขา (Femur)
                                2.  กระดูกอ่อนไฮอะลีนหรือกระดูกอ่อนขาว (Hyaline cartilage)
3.  กระดูกอ่อนใบหู และ ฝาปิดกล่องเสียง
4.  กระดูกหมอนกระดูกสันหลัง และข้อต่อหัวหน่าว
6.  การแบ่งตามลักษณะรูปร่างของกระดูก ดังนี้
                                1.  กระดูกยาว (Long bones)       
                                2.  กระดูกสั้น (Short bones)
                                3.  กระดูกแบน (Flat bones)    
                                4.  ถูกทุกข้อ
7.  กระดูกสันหลังช่วงอก(Thoracic Vertebrae) มี ทั้งหมดกี่ชิ้น
                                1.  มี   5  ชิ้น
                                2.  มี   12  ชิ้น
                                3.  มี   7  ชิ้น
                                4.  มี   4 - 5  ชิ้น
8.  กระหม่อมด้านหน้า (Anterior fontanel)จะมีกระดูกหน้าผากและกระดูกด้านข้างศรีษะมาต่อกัน     เป็นรูปสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูน กระหม่อมนี้จะปิดตอนอายุ เท่าไร
                                1.  อายุ  14   เดือน
                                2.  อายุ  34   เดือน
                                3.  อายุ  24   เดือน
                                4.  อายุ    4   เดือน
9.  ลักษณะการเคลื่อนไหวของกระดูกคอ(Cervical Vertebrae)  ดังนี้
                                1.  พยักหน้าใช้กระดูกกะโหลกศรีษะและกระดูกคอระหว่างชิ้นที่ 1
                                2.  เอียงคอไปด้านซ้ายและด้านขวาใช้กระดูกคอทั้ง 5 ชิ้น
       3.  ส่ายหน้าใช้กระดูกคอระหว่างชิ้นที่ 6 และ 2
                        4.  หันหน้าไปทางซ้ายและทางขวาใช้กระดูกคอชิ้นที่ 4 ชิ้น
10.  กระดูกสันหลัง(Axial skeleton)ส่วนที่มีขนาดใหญ่ที่สุดคือ
                                1.  กระดูกสันหลังช่วงอก(Thoracic Vertebrae)
                                2.  กระดูกสันหลังช่วงคอ (Cervical Vertebrae)
                                3.  กระดูกสันหลังช่วงเอว(Lumbar Vertebrae)
                                4.  กระดูกกระเบนเหน็บ(Sacrum)
11.  ส่วนประกอบของกระดูก (Bone composition)  คือดังนี้
                                1.  คือ กระดูกทึบ (Compact bone or Dense bone)
                                2.  กระดูกโปร่ง  (Spongy bone or Cancellous bone)
                                3.  กระดูกสั้น (Short bones)
                                4.  ข้อ  1  และ  ข้อ  2  ถูก
12.  กระดูกหน้าอก(Sternum)มีกระดูกกี่ชิ้น
                                1.  มีกระดูก  1  ชิ้น
                                2.  มีกระดูก  2  ชิ้น
                                3.  มีกระดูก  3  ชิ้น
                                4.  มีกระดูก  4  ชิ้น


13.  ข้อต่อไปนี้คือกระดูกสะบัก
                                1.  Clavicle
                                2.  Radius
                                3.  Scapula
                                4.  Ulna
14.  กระดูกเชิงกรานคือข้อต่อไปนี้
                                1.  Femur
                                2.  Patella
                                3.  Tibia
                                4.  Ilium
15.  การเคลื่อนไหวของข้อต่อกระดูกได้ระนาบเดียว (แบบบานพับ) Hinge  joint  คือ..
                                1.   ข้อศอก  ข้อเข่า
                                2.  ข้อมือ กระดกขึ้น - ลง  เอียงซ้าย ขวา
                                3.  ข้อไหล่   ข้อสะโพก  กางออก หุบเข้า  หมุนเข้าใน หมุนออกนอก 
                                4.  ไม่ข้อถูก
16.  กล้ามเนื้อที่อยู่ในอำนาจสั่งการของจิตใจคือ....
                                1.  กล้ามเนื้อหัวใจ (Cadiac  muscle)
                                2.  กล้ามเนื้อเรียบ (Smooth muscle)
                                3.  กล้ามเนื้อลาย (Striated  muscle)
                                4.  ถูกทุกข้อ
17.  คุณสมบัติของกล้ามเนื้อมีดังนี้  (ยกเว้น)
                                1.  มีความรู้สึกต่อสิ่งเร้า คือ สามารถรับและตอบสนองต่อสิ่งเร้า
                                2.  มีความสามารถเปลี่ยนรูปร่างให้สั้น  หนา  และแข็งได้
                                3.  มีความยืดหยุ่นคล้ายยาง (Elasticity)
                                4.  เป็นโครงสร้างของร่างกาย
18.        ส่วนประกอบของกล้ามเนื้อคือ
1.  น้ำประมาณ   75  %
2.  โปรตีนประมาณ   10  %
3.  เกลือแร่  / ไกลโคเจน / และไขมัน  ประมาณ  5  %
4.  ถูกทุกข้อ



20.  กล้ามเนื้อในร่างกายทั้งหมด จะมีอยู่ประมาณ  …..  มัด
                                1.  มีทั้งหมด   972   มัด
                                2.  มีทั้งหมด   927   มัด
                                3.  มีทั้งหมด   782   มัด     
                                4.  มีทั้งหมด   792   มัด
21.  กล้ามเนื้อในร่างกายที่อยู่ในอำนาจสั่งการของจิตใจในร่างกายมีกี่มัด
                                1.  มีทั้งหมด   972   มัด
2.  มีทั้งหมด   696   มัด
3.  มีทั้งหมด   672   มัด
4.  มีทั้งหมด   662   มัด
22.  กล้ามเนื้อสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูนคือ
                                1.  Sternocleidomastoid
                                2.  Deltoid
                                3.  Pectoralis major
                                4.  Trapezius
23.  กล้ามเนื้อหน้าท้อง(Rectus abdominis) มีแนวขวาง แบ่งเป็นร่องเล็กๆ มีกี่มัด
                                1.  มีทั้งหมด   6   มัด
                                2.  มีทั้งหมด   7   มัด
                                3.  มีทั้งหมด   8   มัด
                                4.  มีทั้งหมด   9   มัด
24.  การหดตัวของกล้ามเนื้อลาย แบ่งออกได้เป็น .....กี่แบบ
                                1.  แบ่งออกเป็น  1   แบบ
                                1.  แบ่งออกเป็น  2   แบบ
                                1.  แบ่งออกเป็น  3   แบบ   
                                1.  แบ่งออกเป็น  4   แบบ
25.  การหดตัวของกล้ามเนื้อลายแบบ Isotonic  contraction คือ....
1.   การเดิน การวิ่ง
2.  การนอนยกน้ำหนัก
3.  การโหนบาร์ดึงข้อ
4.  ถูกทุกข้อ



26.   ข้อต่อไปนี้ ทำหน้าที่เหยียดขา กางขา
                                1.  Quadriceps femoris
                                2.  Hamstrings
                                3. Gastrocnemius
                                4.  Gluteus  maximus
27.  กล้ามเนื้อที่ทำหน้าที่กระดกปลายเท้าขึ้นลง  คือ
                                1.  Gastrocnemius
                                2.  Gluteus  maximus
                                3.  Tibialis  anterior
                                4.  Hamstrings
28.  ข้อต่อไปนี้ผิด  (ยกเว้น)
                                1.  กล้ามเนื้อลาย (Striated  muscle)หรือกล้ามเนื้อในอำนาจจิตใจ
                                2.  กล้ามเนื้อหัวใจ (Cadiac  muscle) ควบคุมได้โดยจิตใจ
                                3.  กล้ามเนื้อเรียบ (Smooth muscle)หรือกล้ามเนื้อที่สั่งการทำงานได้อำนาจจิตใจ
                                4.  กล้ามเนื้อลาย (Striated  muscle)หรือกล้ามเนื้อที่ไม่อยู่ในอำนาจจิตใจ
29.  หน้าที่ของระบบไหลเวียนข้อใดถูก  (ยกเว้น)
1.  ขนส่งอาหารและออกซิเจน (O2) ให้ออกจากทุกเซลล์
2.  ช่วยลำเรียงฮอร์โมนและเอ็นไซม์ ไปให้เซลล์ เพื่อช่วยในการเผาผลาญของเซลล์
3.  ควบคุมอุณหภูมิของร่างกายให้เป็นปกติ (Temperature regulation)
4.  ป้องกัน และทำลายเชื้อโรค ช่วยสร้างภูมิคุ้มกัน (Antibodies) ให้กับร่างกาย
30.  เลือดประกอบด้วย
                    1.  (Red blood cells)
                        2.  White blood cells
                        3. Blood platelets
                        4.  ถูกทุกข้อ
31.        เม็ดเลือดแดง (Red blood cells) มีอายุกี่วัน......
1.  มีอายุ   112   วัน
2.  มีอายุ   102   วัน
3.  มีอายุ   120   วัน
4.  มีอายุ   212   วัน



32.  เม็ดเลือดแดง (Red blood cells) ถูกสร้างจากที่ใด
                                1.  ไขกระดูกสันหลัง
                                2.  กระดูกกระเบนเหน็บ(Sacrum)
                                3.  สมอง (Brain)
                                4.  ไขกระดูก“Bone Marrow”     เช่นบริเวณกระดูกสะโพก
33.  เม็ดเลือดขาว (White blood cells) มีกี่ชนิด
                                1.  มี   5   ชนิด
                                2.  มี   3   ชนิด
                                3.  มี   4   ชนิด
                                4.  มี   2   ชนิด
34.  เม็ดเลือดขาวชนิดที่จับเชื้อจุลินทรีย์เข้าสู่ร่างกาย คือ...
                                1.  Lymphocyte
                                2.  Neutrophil
                                3.  Monocyte
                                4.  Basophil
35.  เม็ดเลือดขาวชนิดที่จับเฉพาะ antigen-antibody complex เท่านั้น ในรายที่มี พยาธิ์ (parasitic infection) คือ...
                                1.  Lymphocyte
                                2.   Monocyte
                                3.  Basophil
                                4.  Eosiophil
36.  หน้าที่ของเกร็ดเลือด (Blood platelets)ที่สำคัญคือ.....
                                1.  มีสารที่สำคัญ ทำให้เลือดมีอุณหภูมิ คงที่
                                2.  มีสารที่สำคัญ ทำให้เลือดสลายจากที่เป็นก้อน
                                3.  มีสารที่สำคัญ ทำให้เลือดจับตัวกันเป็นก้อน
                                4.  มีสารที่สำคัญ ทำให้เลือดจับไหลเวียนได้สะดวกขึ้น
37.       เกร็ดเลือด (Blood platelets)  ,มีอายุอยู่ได้กี่วัน.....
1.  อายุ    3  -  5   วัน
2.  อายุ    7  -  10   วัน
3.  อายุ    7  -  8   วัน
4.  อายุ    8  -  10   วัน
38.  ค่าปกติในผู้ใหญ่ ชีพจร (Pulse) จะเต้นประมานกี่ครั้งต่อ  1  นาที
                                1.  ประมาณ  50  -  80  ครั้ง
                                2.  ประมาณ  60  -  90  ครั้ง
                                3.  ประมาณ  75  -  90  ครั้ง
                                4.  ประมาณ  70  -  80  ครั้ง
39.  การจับชีพจร จะจับลงบนหลอดเลือดใด
                                1.  หลอดเลือดแดง (Arteries)
                                2.  หลอดเลือดดำ (Veins)
                                3.  เส้นประสาทสมอง (Cranial  nerve)
                                4.  เส้นประสาทไขสันหลัง(Spinal  neve)
40.  เลือดดำจะถูกดูดเข้าสู่หัวใจห้องใดเป็นลำดับแรก
                                1.  หัวใจห้องบนขวา (Right atrium)
                                2.  หัวใจห้องล่างขวา (Right ventricle)
                                3.  หัวใจห้องบนซ้าย (Left atrium)
                                4.หัวใจห้องล่างซ้าย (Left ventricle)
41.  หัวใจห้องใดที่ทำหน้าที่บีบตัวจ่ายเลือดแดงออกจากหัวใจ
                                1.  หัวใจห้องล่างขวา (Right ventricle)
                                2.  หัวใจห้องบนซ้าย (Left atrium)
                                3.  หัวใจห้องล่างซ้าย (Left ventricle)
                                4.  หัวใจห้องบนขวา (Right atrium)
42.  ระบบประสาทส่วนกลาง (Central  nervous  system)  ประกอบไปด้วย
                                1.  สมอง (Brain)
                                2.  ไขสันหลัง (Spinal  cord)
                                3.  ก้านสมอง(Brain  stem)
                                4.  ถูกเฉพาะข้อ  1  -  2 
43.  ข้อต่อไปนี้เป็นโครงสร้างของระบบประสาท
                                1.  ระบบประสาทส่วนกลาง (Central  nervous  system)
                                2.  ระบบประสาทส่วนปลาย (Peripheral nervous  system)
                                3.  ข้อ  1  กับ  ข้อ  2  ถูก
                                4.  (Peripheral nervous  system)
44.  ข้อต่อไปนี้ถูก  ยกเว้น...
                                1.  ส่วนหน้า(Frontal lobe) เกี่ยวข้องกับการทรงจำ ความนึกคิด สติปัญญา และการเคลื่อนไหวของ
                                 ร่างกาย
                                2.  ส่วนกลาง(Parietal  lobe) เกี่ยวข้องกับการรับรู้ ความรู้สึกเช่น ร้อน , เย็น ,เจ็บปวด , สัมผัส และ
                                 ตำแหน่งของข้อต่อต่างๆ
                                3.  ส่วนข้าง(Temporal  lobe) เกี่ยวข้องกับการได้ยิน การแปลความหมายที่ได้ยิน
                                4.  ส่วนหลัง(Occipital  lobe) เกี่ยวข้องกับการโศกเศร้า ดีใจ ภาวะอารมย์
45.  ก้านสมอง(Brain  stem) ทำหน้าที่ดังนี้  ยกเว้น...
                                1.  ควบคุมการหดตัวของกล้ามเนื้อ
                                2.  ควบคุมการเต้นของหัวใจ
                                3.  ควบคุมการหดและขยายตัวของหลอดเลือด
                                4.  ควบคุมอุณหภูมิ
46.  ความยาวของไขสันหลัง(Spinal  cord) คือ
                                1.  ยาวประมาณ 18 นิ้ว
                                2.  ยาวประมาณ 19 นิ้ว
                                3.  ยาวประมาณ 20 นิ้ว
                                4.  ยาวประมาณ 21 นิ้ว
47.  ข้อต่อไปนี้ผิด  หน้าที่สำคัญของเส้นประสาททั้งขาขึ้น(Motor neuron) ยกเว้น...
                                1.  รับความรู้สึกจากส่วนต่างๆของร่างกาย แล้วส่งไปที่สมอง
                                2.  รับความรู้สึกจากส่วนต่างๆของร่างกาย แล้วส่งไปที่กล้ามเนื้อลาย
                                3.  รับความรู้สึกจากส่วนต่างๆของร่างกาย แล้วส่งไปที่หัวใจ
                                4.  รับความรู้สึกจากส่วนต่างๆของร่างกาย แล้วส่งไปที่ปอด
48.       ข้อต่อไปนี้คือหน้าที่ของระบบประสาท
1.              ตอบสนองสิ่งเร้าที่มากระตุ้น
2.              ควบคุมการทำ งานของอวัยวะต่าง
3.              ข้อ  1.  และข้อ  2.  ถูก
4.              ถูกเฉพาะข้อ  1.
49.       ระบบประสาทส่วนปลาย (Peripheral nervous  system) ประกอบไปด้วย
1.  เส้นประสาทที่แยกออกจากสมอง คือประสาทสมอง (Ceanial  nerve)
2.  ไขสันหลัง (Spinal  cord)
3.ระบบประสาทอัตโนมัติ (Autonomic nervous  system)
4.  ถูกเฉพาะข้อ  1  -  3
50.  สมองใหญ่(Cerebrum) แบ่งเป็น 2 ซีก ระบบการทำงานคือ...
                                1.  ซีกซ้ายควบคุมการทำงานของร่างกายซีกซ้าย
                                2.  ซีกขวาก็จะควบคุมการทำงานของร่างกายซีกขวา
                                3.  ซีกขวาก็จะควบคุมการทำงานของร่างกายซีกซ้าย
                                4.  ซีกขวาก็จะควบคุมการทำงานของร่างกายทั้งหมด
51.  สมองส่วนที่ควบคุมความทรงจำ  ความรู้สึกนึกคิดคือ....
                                1.  ส่วนกลาง(Parietal  lobe)
                                2.  ส่วนข้าง(Temporal  lobe)
                                3.  ส่วนหลัง(Occipital  lobe)
                                4.  ส่วนหน้า(Frontal lobe)
52.  สมองส่วนที่ควบคุมความร้อน -  เย็น  เจ็บปวดและตำแหน่งของข้อต่อต่างๆ ได้แก่
                                1.  ส่วนกลาง(Parietal  lobe)
                                2.  ส่วนหลัง(Occipital  lobe)
                                3.  ส่วนข้าง(Temporal  lobe)
                                4.  ส่วนหน้า(Frontal lobe)
53.  ข้อต่อไปนี้คือ หน้าที่ของก้านสมอง(Brain  stem)
                                1.   ควบคุมความร้อน -  เย็น  เจ็บปวดและตำแหน่งของข้อต่อต่างๆ
                                2.  ควบคุมความทรงจำ  ความรู้สึกนึกคิดคือ....
                                3.  ควบคุมการทำงานของร่างกายทั้งหมด
                                4.  เป็นศูนย์กลางควบคุมการหายใจ และการเต้นของหัวใจ
54.  หน้าที่ของไขสันหลัง(Spinal  cord)คือ
                                1.   ควบคุมความร้อน -  เย็น  เจ็บปวดและตำแหน่งของข้อต่อต่างๆ ได้แก่
                                2.  ควบคุมการทำงานของร่างกายทั้งหมด
                                3.  เป็นทางเดินของเส้นประสาททั้งขาขึ้น(Motor neuron) และขาลง (Sensory  neuron)
                                4.  ควบคุมความร้อน -  เย็น  เจ็บปวดและตำแหน่งของข้อต่อต่างๆ
55.       ระบบย่อยอาหาร(The Digestive  system) ประกอบไปด้วย.....
1.  ปาก (Mouth)  หลอดคอ (Pharyng)
2. หลอดคอ (Pharyng)  ท่อทางเดินอาหาร(Esophagus)
3.  กระเพาะอาหาร (Stomach)
4.  ถูกทุกข้อ
56.  ภาวะที่ร่างกายมีธัยร็อกซินน้อยไป (Hypothyroxin) ผลคือ
                                1.  ในทารก ทำให้เกิดร่างกายแคระแกรน เจริญเติบโตช้า กล้ามเนื้อไม่มีแรง
                                2.  ในผู้ใหญ่ ทำให้เกิดอาการบวมใสใต้ผิวหนังแลดูคล้ายเทียนไขกล้ามเนื้อไม่มีแรง
                                3.  ร่างกายผอม น้ำหนักลด กินจุ อ่อนแอ ตอบสนองต่อสิ่งเร้ามากและไวขึ้น
                                4.  ถูกเฉพาะข้อ  1  และ  ข้อ  2
57.  ระบบประสาทอัตโนมัติ(Autonomic nervous system) มีผลต่อระบบต่างๆดังนี้
                                1.  ผลต่อหัวใจ ประสาทซิมพาเทติกทำให้หัวใจเต้นเร็วและแรง
                                2.  ผลต่อหัวใจ ประสาทซิมพาเทติกทำให้หัวใจเต้นช้าและต่ำ
                                3.  พาราซิมพาเทติกทำให้หัวใจเต้นเร็วและแรง
                                4.  ซิมพาเทติกทำให้หัวใจเต้นช้าและเบา
58.  ระบบประสาทซิมพาเทติก(Sympathetic) มีผลดังนี้
                                1.  ซิมพาเทติก(Sympathetic) ทำให้หลอดลมขยายตัว
                                2.  ซิมพาเทติก(Sympathetic) ทำให้หลอดเลือดหดตัวเล็กน้อย
                                3.  ซิมพาเทติก(Sympathetic) ทำให้ความดันโลหิตสูงขึ้น
                                4.  ถูกทุกข้อ
59.  ระบบประสาทพาราซิมพาเทติก(Parasympathetic) มีผลดังนี้
                                1.  พาราซิมพาเทติก (Parasympathetic) ทำให้หัวใจเต้นช้าและเบา
                                2.  พาราซิมพาเทติก (Parasympathetic) ทำให้ม่านตาหดเล็ก
                                3.  พาราซิมพาเทติก (Parasympathetic) ทำให้หลอดเลือดขยายเล็กน้อย
                                4.  ถูกทุกข้อ
60.  ท่อทางเดินอาหาร(Esophagus) ส่วนปลายล่างสุดเชื่อมต่อกับอวัยวะใด
                                1.  ลำไส้เล็ก
                                2.  ลำไส้ใหญ่
                                3.  กระเพาะอาหาร
                                4.  ตับ
60.        เส้นประสาทไขสันหลัง(Spinal  neve)ระดับคอ (Cervical)  มีกี่คู่
1.              มี   5   คู่
2.              มี   6   คู่
3.              มี   7   คู่
4.              มี   8   คู่
61.  เส้นประสาทไขสันหลัง(Spinal  neve)ระดับอก (Thoracic)  มีกี่คู่
1.  มี   10   คู่
2.   มี   12   คู่
3.   มี   14   คู่
4.   มี   16   คู่
62.        เส้นประสาทไขสันหลัง(Spinal  neve)ระดับเอว (Lumbar)  มีกี่คู่
1.   มี   3.   คู่
2.   มี   4   คู่
3.   มี   5   คู่
4.   มี   6   คู่
63.  หน้าที่ของเส้นประสาทไขสันหลัง(Spinal  neve) ข้อต่อไปนี้ถูกต้อง
                                1.  เป็นทางเดินของสารอาหารทุกชนิด
                                2.  เป็นศูนย์ควบคุมการหายใจ
                                3.  เป็นทางเดินของกระแสเลือด
                                4.  ทำหน้าที่เป็นทางผ่านConduction path way รับกระแสความรู้สึกไปสู่สมอง และส่งความรู้สึก         
                                 ออกจากสมอง ไปยังส่วนต่างๆของร่างกาย
64.       หน้าที่ของเส้นประสาทไขสันหลัง(Spinal  neve) มีดังต่อไปนี้
1.  เส้นประสาทช่วง L1-L4  เลี้ยงกล้ามเนื้อบริเวณหลังส่วนบน
2.  เส้นประสาทช่วง C1-C5  เลี้ยงกล้ามเนื้อบริเวณศรีษะ บางส่วนของไหล่และกระบังลม
3.  เส้นประสาทช่วง C5-T1 เป็นร่างแหประสาทแขน เลี้ยงหัวไหล่ แขน และเท้า
4.  เส้นประสาทช่วง T1-T12 เลี้ยงบริเวณหน้าอก หลัง ท้อง และศรีษะบางส่วน
65.  หน้าที่สำคัญของกระเพาะอาหาร
                                1.   เป็นที่เก็บอาหารไว้ ก่อนที่จะผ่านเข้าสู่ลำไส้ อาหารจะถูกเปลี่ยนแปลงโดยกลวิธีต่างๆ จน
                                 จนกลายสะภาพเป็นของเหลวเล็กน้อยเรียกว่า(Chyme)
                                2.  เคลื่อนไหว (Gastric motility) เพื่อคลุกเคล้าอาหารให้สัมผัสกับน้ำย่อย และส่งอาหารที่อยู่ใน
                                 สภาพของ (Chyme) ไปสู่ลำไส้เป็นระยะๆ ในอัตราความเร็วที่พอเหมาะ  ทั้งนี้เพื่อให้ลำไส้มี
                                 โอกาสย่อยและดูดซึมอาหารได้ดี
                                3.  ขับน้ำย่อยในกระเพาะอาหาร (Gastric juice) ซึ่งเป็นน้ำใสๆ มีคุณสมบัติเป็นกรด ความ
                                 ความถ่วงจำเพาะ  1.002 1.003
                                4.  ถูกทุกข้อที่กล่าวมา
66.  ลำไส้เล็ก  (Small intestine)ลำไส้เล็กส่วนต้น(Duodnum) เป็นลำไส้เล็กที่ต่อจากกระเพาะอาหาร มีความ
       มีความยาวทั้งสิ้นเท่าไร
                                1.  มีความยาวทั้งสิ้น   8  นิ้ว
                                2. มีความยาวทั้งสิ้น   10  นิ้ว
                                3.  มีความยาวทั้งสิ้น   12  นิ้ว
                                4.  มีความยาวทั้งสิ้น   15  นิ้ว  
67.  ลำไส้เล็ก  (Small intestine)ลำไส้เล็กส่วนกลาง(Jejunum) เป็นลำไส้เล็กที่ต่อจากต้น(Duodnum)  มีความ
       มีความยาวทั้งสิ้นเท่าไร
                                1.  มีความยาวทั้งสิ้น   12  ฟุต
                                2.  มีความยาวทั้งสิ้น   10  นิ้ว
                                3.  มีความยาวทั้งสิ้น   9  ฟุต
                                4.  มีความยาวทั้งสิ้น   8  นิ้ว
68.  ลำไส้เล็ก  (Small intestine)ลำไส้เล็กส่วนปลาย(ileum) เป็นลำไส้เล็กที่ต่อจากส่วนกลาง(Jejunum) มีความ
       มีความยาวทั้งสิ้นเท่าไร
                                1.  มีความยาวทั้งสิ้น   9  ฟุต
                                2.  มีความยาวทั้งสิ้น   9  นิ้ว
                                3.  มีความยาวทั้งสิ้น   9  นิ้ว
                                4.  มีความยาวทั้งสิ้น   12  ฟุต
69.  หน้าที่สำคัญของลำไส้เล็ก ข้อต่อไปนี้ ถูกต้อง  (ยกเว้น)
                                1.  หลั่งน้ำย่อยออกมาย่อยอาหาร (Digestive  function)
                                2.  การเคลื่อนไหว (Intestinal  motility) เพื่อคลุกเคล้าอาหารให้เข้ากับน้ำย่อยต่างๆ
                                3.  ถูกเฉพาะข้อ  1.  กับข้อ  2.
                                4.  ไม่มีข้อถูก
70.  ลำไส้ใหญ่ (Large  intestine) มีความยาว ดังนี้
                                1.  ความยาวทั้งหมด  5  ฟุต
                                2.  ความยาวทั้งหมด  6  ฟุต
                                3.  ความยาวทั้งหมด  8  ฟุต
                                4.  ถูกเฉพาะข้อ  1. 
71.  Ascending  colon  ข้อต่อไปนี้ถูกต้อง
                                1.  เป็นส่วนที่ทอดขึ้นมาทางขวาของช่องท้อง จนถึงใต้ตับ โค้งไปทางซ้าย ส่วนโค้งนี้ เรียกว่า
                                 Hepatic flexure
                                2.  เป็นส่วนที่ทอดต่อจาก Hepatic flexure ทอดขวางไปตามช่องท้อง ไปจนถึงด้านซ้ายของช่อง
                                 แล้วแล้วทอดโค้งไปใต้ส่วนของปลาย speen ส่วนโค้งนี้เรียกว่า Splenic flexure
                                3.  เป็นส่วนที่ต่อจาก Splenic flexure ทอดลงมาข้างล่างทางซ้ายของช่องท้องจนถึง
                                      left  iliac rigion  ตรงระดับ crest of ileum
4.               ถูกเฉพาะข้อ  1. 
72.       Rectum คือส่วนที่ต่อมาจาก (Singmoid  colon) เป็นลำไส้ใหญ่ส่วนตรง เป็นส่วนที่พองโตขยายตัวได้มากกว่าส่วนอื่นๆ เพื่อเก็บอุจจาระได้มากมีความยาวประมาณ ……….. นิ้ว
1.              ความยาวทั้งหมด  5  ฟุต
2.              ความยาวทั้งหมด  5  นิ้ว
3.              ความยาวทั้งหมด  4  ฟุต
4.              ความยาวทั้งหมด  6  ฟุต
73.  ระบบต่อมไร้ท่อ (Endocrine System) ทำหน้าที่ควบคุมอวัยวะภายในร่างกายให้ทำงานประสานงานกัน
        ข้อต่อไปนี้ถูกต้อง
                                1.  ระบบนี้จะทำหน้าที่นอกเหนือไปจากการทำงานของระบบประสาท
                                2.  การกระทำของต่อมไร้ท่อให้ผลช้าแต่ทำงานนานกว่าระบบประสาท
                                3.  โดยอาศัยสารเคมีที่ต่อมไร้ท่อผลิตขึ้นมาที่เรียกว่า ฮอร์โมน (Hormone)
                                4.  ถูกทั้ง หมดทุกข้อ
73.       การกระตุ้นต่อมธัยรอยด์ให้สร้าง Thyroxin เพิ่มขึ้น เป็นผลมาจาก ข้อใด
1.  ต่อมใต้สมอง (Pituitary Gland)
2.  ต่อมธัยรอยด์ (Thyroid Gland)
3.  ถูกเฉพาะข้อ  1. 
4.  ถูกเฉพาะข้อ  2. 
75.  ต่อมธัยรอยด์ (Thyroid Gland) มีหน้าที่ๆสำคัญคือ
                                1.  ผลิตฮอร์โมนที่สำคัญคือธัยร็อกซิน (Thyroxin)
                                2.  กระตุ้นให้เซลเม็ดสีสร้างเม็ดสีเพิ่มขึ้น
                                3.  กระตุ้นการตกไข่และสร้างฮอร์โมนเพศหญิงและชาย
                                4.  กระตุ้นการขยายเต้านมสำหรับหญิงที่มีครรภ์
76.  ถ้ามีธัยร็อกซินน้อยไป (Hypothyroxin) ผลที่เกิดขึ้นคือ
                                1.  ในทารก ทำให้เกิดร่างกายแคระแกรน เจริญเติบโตช้า
                                2.  ในผู้ใหญ่ ทำให้เกิดอาการบวมใสใต้ผิวหนังแลดูคล้ายเทียนไข
                                3.  เกิดโรคคอพอกชนิดธรรมดา
                                4.  ถูกทั้ง หมดทุกข้อ
77.  ถ้ามีธัยร็อกซินมากเกินไป (Hyperthyroxin) ผลที่เกิดขึ้นคือ
                                1.ร่างกายผอม น้ำหนักลด กินจุ อ่อนแอ ตอบสนองต่อสิ่งเร้ามากและไวขึ้น
                                2.  เกิดโรคคอพอกชนิดธรรมดา
                                3.  เกิดโรคคอพอกชนิดเป็นพิษ
                                4.  ถูกเฉพาะข้อ  1.  ข้อ  3.
78.  ฮอร์โมนเพศชาย ที่สำคัญคือ
                                1.  โปรเจสเตอโรน (Progesterone)
                                2.  เอสโตรเจน (Estrogen)
                                3.  เทสทอสเตอโรน (Testosterone)
                                4.  ถูกเฉพาะ ข้อ  1. ข้อ 2.
79.  ถ้าตัดอัณฑะออกจะทำให้เกิดผลดังต่อไปนี้
                                1.  ในเด็ก - ทำให้อวัยวะสืบพันธ์ไม่เจริญ
                                2.  ทำให้อัตราการเจริญเติบโตของกระดูกเพิ่มขึ้น
                                3.  ควบคุมการหลั่งของฮอร์โมนเพศชาย
                                4.  ถูกทั้ง หมดทุกข้อ
80.  ถ้าตัดอัณฑะออกจะทำให้เกิดผลดังต่อไปนี้
                                1.  ในเด็ก - ทำให้อวัยวะสืบพันธ์ไม่เจริญ
                                2.  มีไขมันสะสมมากขึ้น แขนขาสั้นผิดปกติ
                                3.  ไม่มี Secondary sexual characteristic
                                4.  ถูกเฉพาะ ข้อ  1. ข้อ 3.
82.  ฮอร์โมนเพศหญิง คือข้อต่อไปนี้
                                1.  เอสโตรเจน (Estrogen)
                                2.  และโปรเจสเตอโรน (Progesterone) 
                                3.  เทสทอสเตอโรน (Testosterone)
                                4.  ถูกเฉพาะ ข้อ  1. ข้อ 2.
83.  ถ้าตัดรังไข่ออกจะทำให้เกิดผลดังต่อไปนี้
                                1.  มีลักษณะคล้ายชาย
                                2.  มีความรู้สึกทางเพศเพิ่มขึ้น
                                3.  มีไขมันสะสมมากขึ้น แขนขายาวผิดปกติ
                                4.  กระตุ้นการสร้างโปรตีนเพิ่มขึ้นโดยเฉพาะเอ็นไซม์
84.  หน้าที่สำคัญของ อัณฑะ (Testis) และถุงอัณฑะ (Scrotum)
                                1.  ปรับอุณหภูมิภายในถุงอัณฑะให้เหมาะแก่การเจริญเติบโตของอสุจิ คือ
                                 เซลเซียส ประมาณ 34 องศา
                                2.  สร้างฮอร์โมนเพศชาย ที่สำคัญคือ เทสทอสเตอโรน (Testosterone)
                                3.  ควบคุมการเจริญเติบโตของอวัยวะสืบพันธ์
                                4.  ควบคุมการหลั่งของฮอร์โมน Hormone กระตุ้นต่อมธัยรอยด์ให้สร้าง Thyroxin เพิ่มขึ้น
 85. ขั้นตอนในการสร้างตัวอสุจิและการหลั่งน้ำอสุจิ มีดังนี้
                                1.   เริ่มจากหลอดสร้างตัวอสุจิ ซึ่งอยู่ภายในอัณฑะสร้างตัวอสุจิออกมา
                                2.  จากนั้นตัวอสุจิจะถูกนำไปพักไว้ที่หลอดเก็บอสุจิ
                                3.  ลำเลียงผ่านไปตามหลอดนำตัวอสุจิ เพื่อนำตัวอสุจิไปเก็บไว้ที่ต่อมสร้างน้ำเลี้ยงตัวอสุจิรอการ
                                 หลั่งออกสู่ภายนอก
                                4.  ถูกทั้ง หมดทุกข้อ
86.       โดยปกติเพศชายจะเริ่มสร้างตัวอสุจิได้เมื่ออายุประมาณ กี่ ปี
1.  อายุ  12 - 13 ปี
2.  อายุ  13 - 14 ปี
3.  อายุ  14 - 15 ปี
4.  อายุ  15 - 16 ปี
87.  การหลั่งน้ำอสุจิในแต่ละครั้งจะมีตัวอสุจิเฉลี่ย        ประมาณ กี่ ตัว
                                1.  ประมาณ 330 - 500 ล้านตัว
                                2.  ประมาณ 360 - 500 ล้านตัว
                                3.  ประมาณ 350 - 500 ล้านตัว
                                4.  ประมาณ 340 - 500 ล้านตัว
88.  สำหรับชายที่เป็นหมันจะมีตัวอสุจิน้อยกว่า 30 - 50 ล้านตัว ต่อลูกบาศก์เซนติเมตร หรือมีตัวอสุจิที่ผิดปกติ  มากกว่าร้อยละ กี่ตัว
                                1.  มากกว่าร้อยละ 28
                                2.  มากกว่าร้อยละ 26
                                3.  มากกว่าร้อยละ 25
                                4.  มากกว่าร้อยละ 24
89.  ตัวอสุจิที่หลั่งออกมาจะเคลื่อนที่ได้ประมาณ 3 - 4 มิลลิเมตรต่อนาที และมีชีวิตอยู่นอกร่างกายได้ประมาณ 2 ชั่วโมง แต่จะมีชีวิตอยู่ในมดลูกของเพศหญิงได้นานเท่าใด
                                1.  ได้นานประมาณ 24 - 48 ชั่วโมง
                                2.  ได้นานประมาณ 25 - 48 ชั่วโมง
                                3.  ได้นานประมาณ 26 - 48 ชั่วโมง
                                4.  ได้นานประมาณ 27 - 48 ชั่วโมง
90.  อสุจิ    เป็นเซลสืบพันธุ์เพศชายที่ผลิตขึ้นมาจาก.......
                                1.  อัณฑะ (Testis)
                                2.  ต่อมลูกหมาก(prostate gland)
                                3.  ต่อมคาวเปอร์(cowper gland)
                                4.  อวัยวะเพศชาย(pennis)
91.  ระบบสืบพันธุ์เพศหญิง  ประกอบด้วยอวัยวะต่างๆ ดังนี้
                                1.  รังไข่( ovary )  
                                2.  ท่อนำไข่( oviduct )  
                                3.  ช่องคลอด( vagina )  
                                4.  ถูกทั้ง หมดทุกข้อ
92.  การตกไข่  หมายถึง
                                1.  การที่ไข่สุกและออกจากรังไข่เข้าสู่ท่อนำไข่
                                2.  การตกไข่เกิดขึ้นเดือนละ 2 ใบ
                                3.  ในช่วงกึ่งกลางของรอบเดือน เมื่อมีการตกไข่ มดลูกจะมีการเปลี่ยนแปลงโดยมีผนังหนาขึ้น
                                4.  ถูกเฉพาะ ข้อ  1. ข้อ 3.
93.  โดยปกติผู้หญิงจะเริ่มมีประจำเดือนเมื่ออายุประมาณ กี่ ปี ขึ้นไป
                                1.  อายุ    11   ปี ขึ้นไป
                                2.  อายุ    12   ปี ขึ้นไป
                                3.  อายุ    13   ปี ขึ้นไป
                                4.  อายุ    14   ปี ขึ้นไป
94.  รอบของการมีประจำเดือนแต่ละเดือนจะแตกต่างกันไปในแต่ละคน โดยทั่วไปประมาณ กี่ วัน
                                1.  ประมาณ 25 วัน
                                2.  ประมาณ 26 วัน
                                3.  ประมาณ 27 วัน
                                4.  ประมาณ 28 วัน
95.  โดยทั่วไปแล้ว ถ้าร่างกายของคนที่มีความสมบูรณ์เป็นปกติ ประจำเดือนจะหยุดเมื่ออายุกี่ปี
                                1.  อายุประมาณ 40 - 45 ปี
                                2.  อายุประมาณ 45 - 50 ปี
                                3.  อายุประมาณ 50 - 55 ปี
                                4.  อายุประมาณ 50 - 60 ปี
96.  ลึงค์ ( penis )  มีหน้าที่สำคัญคือ...
                                1.  เป็นอวัยวะที่ใช้ในการร่วมเพศ 
                                2.  เพศ  เป็นทางผ่านของสเปิร์มและน้ำปัสสาวะออกสู่ภายนอก
                                3.  เป็นแหล่งผลิตน้ำกาม ( semen ) 
                                4.  ถูกเฉพาะข้อ  1.  และข้อ  2.
97.  ต่อมคาวเปอร์ ( Cowper’s  gland ) ทำหน้าที่ดังนี้
                                1.  ทำหน้าที่ในการหลั่งสารเหลวใสและเหนียว  เพื่อหล่อลื่นในขณะที่เกิดการกระตุ้นทางเพศ
                                2.  ขับสเปิร์มและน้ำปัสสาวะออกสู่ภายนอก                                   
                         3.  ทำหน้าที่ในการสร้างน้ำเลี้ยงอสุจิ  ซึ่งได้แก่น้ำตาลฟรักโทส  วิตามินซี 
                                4.   ถูกเฉพาะข้อ  1. 
98.  ถุงอัณฑะ ( scrotum  or  scrotal  sac )  ที่ยื่นออกมาจากช่องท้อง  เนื่องจากอัณฑะที่อยู่ในช่องท้องเลื่อนลงมา  ถุงอัณฑะทำหน้าที่ควบคุมอุณหภูมิให้แก่อัณฑะ  โดยอุณหภูมิของถุงอัณฑะจะต่ำกว่าอุณหภูมิของร่างกายประมาณ
                                1.  ประมาณ   33   องศาเซลเซียส
                                2.  ประมาณ   34   องศาเซลเซียส
                                3.  ประมาณ   35   องศาเซลเซียส
                                4.  ประมาณ   36   องศาเซลเซียส
99. ข้อต่อไปนี้คือแฝดร่วมไข่ (identical  twins) (ฝาเดียวกัน)
1.   เกิดจากไข่ 1 ใบผสมกับอสุจิ 1 ตัว  เป็นไซโกตแล้วไซโกตแบ่งตัวออกเป็น 2 ส่วน
2.  มีเพศเดียวกัน  รูปร่างลักษณะเหมือนกัน 
3.  อุปนิสัยสติปัญญาใกล้เคียงกัน และความสามารถต่างๆ จะใกล้เคียงกันมาก
4.  ถูกทุกข้อ
100.  แฝดต่างไข่ (fraternal  twins)(คนละฝา)คือข้อต่อไปนี้
                                1.  เกิดจากไข่มากกว่า 1 ใบ  ผสมกับอสุจิมากกว่า 1 ตัว
                                2.  เกิดไซโกตและเอมบริโอมากกว่า 1
                                3.  อาจเป็นเพศเดียวกันหรือต่างเพศก็ได้
                                4.  ถูกทุกข้อ

 *************************************ขอให้โชคดี***********************************