วันอาทิตย์ที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

วิชาองค์ประกอบศิลปะเบื้องต้น (2301 – 1001)


วิชาองค์ประกอบศิลปะเบื้องต้น (2301 – 1001)

1.  ทัศนธาตุที่เล็กที่สุดมิติเป็นศูนย์ไม่มีความกว้าง ความยาว ตรงกับข้อใด
          1.  จุด  (Point)                               2.  เส้น  (Line)
          3.  น้ำหนัก  แสง  เงา  (Tone Liht  Shade)        4.  พื้นผิว (Texture)
          5.  บริเวณว่าง  (Space)


2.  ความอ่อนไหว นุ่มนวล เปรียบเทียบลักษณะเส้น ตรงกับข้อใด
          1.  เส้นตั้ง                                     2.  เส้นเฉียง
          3.  เส้นตรงแนวนอน                         4.  เส้นโค้ง
          5.  ถูกทั้งข้อ 3 , 4
3.  เส้นประเภทใดไม่จัดอยู่ในเส้นตรง
          1.  เส้นเฉียง                                  2.  เส้นนอน
          3.  เส้นฟันปลา                               4.  เส้นก้นหอย
          5.  เส้นดิ่ง
4.  รูปร่าง  (Shape)  มีลักษณะตามข้อใด
          1.  ภาพ 1 มิติ                                2.  ภาพ 2 มิติ
3.  ภาพ 3 มิติ                                4.  ภาพ 4 มิติ
5.  ถูกทั้งข้อ 2 , 3
5.  ข้อใดไม่จัดอยู่ในกลุ่มเดียวกัน
          1.  รูปร่างวงกลม                             2.  รูปร่างสามเหลี่ยม
          3.  รูปร่างสี่เหลี่ยม                                     4.  รูปร่างวงรี
          5.  รูปร่างคน
6.  รูปทรงจะแสดงให้เห็นภาพด้านใดบ้าง
          1.  ความกว้าง                                2.  ความยาว
          3.  ความยาวของเส้นรอบนอก               4.  ความสูง
          5.  ถูกทั้งข้อ 1 , 2 และข้อ 4
7.  รูปทรงอิสระตรงกับข้อใด
          1.  ก้อนเมฆ                                   2.  ลูกบอล
          3.  กล่องพัสดุ                                 4.  ซองจดหมาย
          5.  แจกัน



8.  ค่าน้ำหนัก แสงเงาจริง หมายถึงข้อใด
          1.  ค่าน้ำหนักเกิดจากการสร้างขึ้นมีลักษณะ 2 มิติ และ 3 มิติในงานจิตรกรรม ภาพพิมพ์และงานออกแบบต่างๆ
          2.  การระบายสีหรือลงเงาให้เห็นน้ำหนักระยะของภาพทิวทัศน์
          3.  น้ำหนักที่เกิดจากแสงสว่างและเงาจริงปรากฏบนวัตถุในงานศิลปะสาขาประติมากรรมและสถาปัตยกรรม
          4.  การระบายไล่ค่าน้ำหนักของสีแทนน้ำหนักของสีวัตถุเมื่อได้รับอิทธิพลจากแสง
          5.  การเว้นส่วนที่เป็นแสงหรือลงเงาอย่างเจือจางให้เกิดความลึกตื้นในงานประติมากรรม

9.  บริเวณใดของวัตถุเมื่อได้รับอิทธิพลจากแสงแล้วจะทำให้สีของวัตถุดูเข้มที่สุด
          1.  บริเวณเงา                                 2.  บริเวณเงาตกทอด
          3.  บริเวณแสงตกกระทบวัตถุ                4.  บริเวณแสงสะท้อน
          5.  บริเวณเงามืด
10.  พื้นผิวที่มีลักษณะอ่อนนุ่มตรงกับข้อใดมากที่สุด
          1.  เนื้อผ้า                                     2.  ลายลูกฟูกบนกระดาษ
          3.  ผิวหนังสัตว์                               4.  ฟองน้ำ
          5.  ใบไม้
11.  ลักษณะของพื้นผิวจริงคือข้อใด
          1.  ภาพถ่ายรอยแตกของเปลือกไม้         
          2.  ภาพวาดเส้นดินสอดำแสดงรอยเหี่ยวย่นบนใบหน้า
          3.  ลักษณะของกระท่อมไม้มุงจากในผลงานภาพพิมพ์แกะไม้ 
          4.  พื้นผิวของก้อนหินหยาบ ขรุขระของภาพเขียนด้วยเส้นปากกา
          5.  พื้นที่ว่างของรูปทรงจากการแกะสลักภาพทิวทัศน์บนแผ่นกระจกที่มันวาว
12. สีเหลือง ทำให้เกิดความรู้สึกตรงกับข้อใด
          1. สดชื่น สงบ สบาย
2. ร่าเริงสดใส เป็นสิริมงคล
3.  สนุกสนาน
4. สดใส สะอาด
5. ร่าเริง
13. สีดำ ทำให้เกิดความรู้สึกตรงกับข้อใด
          1. ลึกลับ  เศร้า
2. สงบ  สุภาพ  เรียบร้อย
3.  เก่ง  แห้งแล้ง 
4. บริสุทธิ์  สะอาด
5. ทรุดโทรม


14. ถ้าต้องการถ่ายทอดความรู้สึก ตื่นเต้น รุนแรง   กล้าหาญ  ควรใช้สีใด
          1. สีส้ม
2. สีแดง
3. สีม่วง
4. สีฟ้า
5. สีเทา
15. การใช้สีเด่นชัดเฉพาะสีใดสีหนึ่งในภาพมากกว่า 80% และใช้สีอื่นๆผสมผสานอยู่ในภาพประมาณ 20% หมายถึงข้อใด
          1. สีกลมกลืน
2. สีส่วนรวม
3.  สีโทนร้อน
4. สีโทนเย็น
5. สีตัดกัน
16. ข้อใดหมายถึงสีกลมกลืน
          1. ค่าน้ำหนักความเข้มของสีต่างๆในวงจรสี
2. ค่าน้ำหนักความเข้มของสีที่อยู่ตรงข้ามกันในวงจรสี
3.  ค่าความเข้มของสีที่ใกล้เคียงกัน 4 สี ในวงจรสีให้ความรู้สึกนุ่มนวล
4. สี 7 สี ในวงจรสีให้ความรู้สึกร้อนแรงอันตราย
5. สีที่อยู่ต่างวรรณะกัน
17 กลุ่มสีในข้อใดจัดเป็นสีกลมกลืน
          1. ส้ม  เหลือง  เขียวเหลือง  เขียว
2. ส้มเหลือง  ส้ม  ส้มแดง  แดง
3. เขียว  น้ำเงิน  ม่วงน้ำเงิน  ม่วง
4. เขียว  เหลือง  ส้มเหลือง  ส้ม
5. แดง ดำ เขียว ส้ม
18 ค่าน้ำหนักความเข้มของสีเดียวที่ไล่ระดับอ่อนแก่ในตัวเองช่วยในงานทัศนศิลป์มีการแปรเปลี่ยนเกิดมิติและความกลมกลืนหมายถึงสีประเภทใด
          1. สีกลมกลืน
2. สีโทนร้อน  สีโทนเย็น
3.  ค่าของสี
4. สีเอกรงค์
5. แม่สี
19 ข้อใด ไม่ใช่ ลักษณะของการไล่ค่าน้ำหนักของสีเดียว
          1. การผสมสีขาวไล่ค่าน้ำหนัก
2. การผสมสีดำไล่ค่าน้ำหนัก
3. การผสมสีใดสีหนึ่งที่ไม่ใช่สีตรงข้ามในวงจรสีไล่ค่าน้ำหนัก
4. การไล่ค่าระดับความเข้มสีในวงจรสี
5. การลดค่าของสีสีเดียว
20. สีที่เป็นคู่ตรงข้ามกันในวงจรสีให้ความรู้สึกทางสายตาเมื่ออยู่ใกล้กันในปริมาณที่เท่ากันหมายถึงข้อใด
          1. สีตัดกัน
2. สีโทนเย็น
3.  สีส่วนรวม
4. สีเอกรงค์
5. สีโทนร้อน
21. คู่สีในข้อใดเป็นสีตัดกัน
          1. ม่วงน้ำเงิน กับ แดง
2. ส้ม กับ เหลือง
3. แดง กับ ส้มแดง
4. เหลือง กับ ม่วง
5. เขียว น้ำเงิน
22. สี 5 สี ที่มีค่าความเข้มใกล้เคียงกันอยู่ในวรรณะเดียวกันของวงจรสี หมายถึงข้อใด
          1. สีเอกรงค์                        
2. สีส่วนรวม
3.  สีตัดกัน                         
4. ค่าของสี
5. สีโทนร้อน
23. กลุ่มสีในข้อใดจัดเป็นสีเอกรงค์
          1. เขียวเหลือง  เขียว  เขียวน้ำเงิน  น้ำเงิน  ม่วงน้ำเงิน
2. ส้มเหลือง  เหลือง  เขียวเหลือง  เขียว  เขียวน้ำเงิน
3.  น้ำเงิน  ม่วงน้ำเงิน  ม่วง  ม่วงแดง  แดง
4. เขียว  เขียวเหลือง  เหลือง  ส้มเหลือง  ส้ม
5. น้ำเงิน  ม่วงน้ำเงิน  ส้ม  ม่วงแดง  แดง
24. ข้อใดไม่ใช่ความหมายของบริเวณว่าง (SPACE)
          1. บริเวณว่างระหว่างรูปร่าง  รูปทรง  พื้นผิว  สี
2. ปริมาตรของอากาศที่ห้อมล้อมรูปทรงหรือวัตถุ
3.  ไม่มีมิติ  ไม่มีความกว้าง  ความยาว
4. ปริมาตรของอากาศที่ห้อมล้อมด้วยขอบเขต
5. มีลักษณะเป็นสามมิติ  มีความกว้าง  ความลึก  ความสูง
25. ข้อใดเป็นความสำคัญของบริเวณว่างในผลงานทัศนศิลป์
          1. กำหนดขอบเขตของรูปและพื้น
2. ทำให้ผลงานละเอียด ปราณีตขึ้น
3.  ให้ความรู้สึกตื้นลึกในภาพ
4. สร้างความสัมพันธ์ระหว่างรูปกับพื้น
5. ทำให้ผลงานมีความหลากหลายของวัตถุ
26. สีขั้นที่ 1 คือข้อใด
          1. สีเอกรงค์
2. สีวรรณะร้อน
3.  สีกลมกลืน
4. พหุรงค์
5. แม่สี
27. สีขั้นที่ 1 ได้แก่สีใดบ้าง
          1. ม่วง  แสด  แดง 
2. เขียว  ส้ม  ชมพู
3.  ม่วง  คราม  น้ำเงิน
4. น้ำเงิน  เหลือง  แดง
5. ขาว  ม่วง  เขียว
28. สีข้อใดหมายถึงสีขั้นที่ 2
          1. สีที่เกิดจากการผสมของแม่สีทีละคู่
2. คู่สี 2 สี ที่มีความเข้มเท่าเทียมกันในวงจรสี
3.  สีที่มีความเข้มอยู่ในลำดับที่ 2  จากการไล่ค่าระดับความเข้มของสี
4. สีที่มีความอ่อนอยู่ในลำดับที่ 2  จากการไล่ค่าระดับความเข้มของสี
5. สีที่มีความหนาแน่นของเนื้อสีในลำดับที่ 2
29. สีขั้นที่ 2 ได้แก่สีใดบ้าง
          1. ม่วง  ส้ม  เขียว 
2. คราม  น้ำตาล  เขียวแก่
3. น้ำเงิน  ส้ม  ม่วง
4. แดง  ม่วง  เขียว
5. ดำ  ส้ม  เหลือง
30. ข้อใดหมายถึงสีขั้นที่ 3
          1. สีที่เกิดจากการผสมของสีขั้นที่ 1 และสีขั้นที่ 2 
2. สีที่เกิดจากการผสมของแม่สีและสีกลาง
3.  สีที่มีความเข้มอยู่ในลำดับที่ 3 จากการไล่ค่าระดับความเข้มของสี
4. สีที่มีความอ่อนอยู่ในลำดับที่ 3 จากการไล่ค่าระดับความเข้มของสี
5. สีที่เกิดจากสีกลางผสมกับสีขาวหรือสีดำเพื่อไล่ระดับความเข้ม
31. ข้อใดไม่ใช่สีขั้นที่ 3
          1. ม่วงแดง 
2. ส้มแดง
3. ชมพูแดง
4. เขียวเหลือง
5. เหลืองส้ม
32. วงจรสีมีทั้งหมดกี่สี
          1. 6  สี 
2. 9  สี
3. 12  สี
4. 15  สี
5. 18  สี
33. ในวงจรสี สีที่อยู่ตรงข้ามกับแดงคือสีใด
          1. ส้ม 
2. ม่วง
3. เขียว
4. เหลือง
5. น้ำเงิน
34. ในวงจรสี สีที่อยู่ติดกับม่วงแดง คือสีใด
          1. ม่วง และ น้ำเงิน 
2. น้ำเงิน และ แดง
3. ม่วง และ แดง
4. น้ำเงิน และ ม่วง
5. ม่วง และ ส้ม
35. ข้อใดเป็นสีวรรณะเย็นทั้งหมด
          1. แดง  น้ำเงิน 
2. ม่วง  ส้ม
3. ม่วงน้ำเงิน  เขียว
4. ส้ม  เขียวน้ำเงิน
5. ส้มแดง  แดง
36. ข้อใดเป็นสีวรรณะร้อนทั้งหมด
          1. แดง  ม่วง 
2. เหลือง  น้ำเงิน
3. ม่วงแดง  น้ำเงิน
4. เขียวน้ำเงิน  ม่วง
5. ส้มแดง  เขียวน้ำเงิน
37. ภาพวาดที่ใช้ที่วรรณะเย็นให้ความรู้สึกอย่างไร
          1. สงบเย็น   
2. เร่าร้อน
3. ตื่นเต้น
4. เร้าใจ
5. สนุกสนาน
38. ข้อใดคือความหมายของเอกภาพ
          1. การประสานกัน 
2. การจัดระเบียบของส่วนต่างๆ
3. ความเป็นน้ำหนึ่งอันเดียวกัน
4. ความกลมกลืนกัน
5. การรวมกันของส่วนประกอบย่อยมีความประสานกลมกลืนเป็นหนึ่งเดียว
39. ข้อใดไม่ใช่ส่วนประกอบที่ทำให้เกิดเอกภาพ
          1. การขัดแย้ง 
2. รูปแบบ
3. สัดส่วน
4. สมดุล
5. การประสาน
40. ข้อใดไม่ใช่ความขัดแย้งในธรรมชาติ
          1. ผู้หญิง  กับ  ผู้ชาย 
2. สีขาว  กับ  สีดำ
3. ดอกไม้สีแดง  กับ  ใบไม้สีเขียว
4. ก้อนหิน  กับ  น้ำ
5. กลางวัน  กับ  กลางคืน
41. ข้อใดเป็นความขัดแย้งในงานศิลปะที่แตกต่างจากกลุ่ม
          1. การขัดแย้งด้วยเส้น 
2. การขัดแย้งด้วยสี
3. การขัดแย้งด้วยรูปร่าง
4. การขัดแย้งด้วยรูปทรง 
5. การขัดแย้งด้วยเรื่องราว
42. ความกลมกลืนหมายถึง ข้อใด
          1. การรวมกัน
          2. การรวมกันของหน่วยย่อยๆ
          3. การประสานกัน
          4. การปรองดอง
          5. การรวมกันของหน่วยย่อย ประสานกันได้อย่างสนิท
43. ข้อใดเป็นลักษณะของความกลมกลืนที่แตกต่าง
          1. ความกลมกลืนด้วยเส้น
          2. ความกลมกลืนด้วยรูปร่าง
          3. ความกลมกลืนด้วยขนาด
          4. ความกลมกลืนด้วยสี
          5. ความกลมกลืนที่มีลักษณะเหมือนกัน

44. ข้อใดกล่าวถูกต้อง
          1. ดุลยภาพแบ่งได้เป็น 3 ประเภท
          2. ดุลยภาพแบบสมมาตรเป็นดุลยภาพที่มีวัตถุอยู่ด้านข้างและด้านขวาเส้นแกนสมมุติเหมือนกัน
          3. ดุลยภาพแบบอสมมาตร เป็นดุลยภาพที่มีวัตถุอยู่ด้านซ้ายและด้านขวาเส้นแกนสมมุติเหมือนกัน
          4. ดุลยภาพแบบตาชั่งจีน คือวัตถุขนาดใหญ่จะอยู่ห่างจากเส้นแกนสมมุติ วัตถุขนาดเล็กจะอยู่ติดกับ เส้นแกนสมมุติ
          5. เส้นแกนสมมุติ มี 3 ลักษณะ คือ เส้นแกนแนวตั้ง เส้น เส้นแกนแนวราบ และเส้นแกนแนวเฉียง
45. ข้อใดกล่าวถูกต้องเกี่ยวกับดุลยภาพของสี
          1. สีเขียวกับสีแดงขนาดเท่ากันบนพื้นสีขาว
          2. สีแดงมีขนาดใหญ่กว่าสีเทาบนพื้นสีขาว
          3. สีส้มมีขนาดใหญ่กว่าสีน้ำเงินบนพื้นสีแดง
          4. สีเหลืองมีขนาดใหญ่กว่าสีม่วงบนพื้นสีส้ม
          5. สีแดงมีขนาดใหญ่กว่าสีเขียวบนพื้นสีขาว
46. ข้อใดไม่เหมาะสมสำหรับการจัดวางจุดเด่น
          1. ด้านซ้าย
          2. ด้านขวา
          3. ตรงกลางภาพ
          4. ด้านบน
          5. ด้านล่าง
47. การวางจุดเด่นในทางลึกไม่นิยมวางในตำแหน่งใด
          1. ระยะหน้า
          2. ระยะกลาง
          3. ระยะหลัง
          4. ระหว่างระยะหน้ากับระยะกลาง
          5. ระหว่างระยะกลางกับระยะหลัง
48.  การซ้ำในข้อใดที่ให้ความรู้สึกจืดชืดธรรมดา
          1.  การซ้ำที่เหมือนกัน                       
          2.  การซ้ำที่เปลี่ยนแปลงไปบ้าง
          3.  การซ้ำที่ปะปนกัน                       
          4.  การซ้ำที่จัดจังหวะให้น่าสนใจ
          5.  การซ้ำที่ขัดแย้งกัน
49.  ข้อใดเป็นจังหวะที่แตกต่าง
          1.  การซัดของคลื่น                          
          2.  เสียงสูง เสียงต่ำของดนตรี
          3.  การเดินของมนุษย์                       
          4.  การเล่นฟุตบอล
          5.  การกระโดดเชือก
50.  สัดส่วนทองหรือโกลเดนเซคชั่น ซึ่งมีที่มาจากรูปด้านหน้าของวิหารพาร์เธนนอนที่มีขนาดสัดส่วนอย่างไร
          1.  กว้าง 3 ส่วน ยาว 4 ส่วน               
          2.  กว้าง 3 ส่วน ยาว 6 ส่วน
          3.  กว้าง 2 ส่วน ยาว 4 ส่วน                4.  กว้าง 2 ส่วน ยาว 2 ส่วน
          5.  กว้าง 3 ส่วน ยาว 5 ส่วน


**************************************************

กลุ่มวิชาองค์ประกอบศิลปะเบื้องต้น (2301 – 1001)
1.  น.ส.อุไรรัตนา โพธิ์แก้ว          วอศ.ขอนแก่น
2.  นางราตรี     อิสสระโชติ       วอศ.ปัตตานี
3.  น.ส.กัลยา    ชุติวัตร            วอศ.สิงห์บุรี
4.  นางศรีสมัย   จิตสม             วศป.กรุงเทพ








ไม่มีความคิดเห็น: