ส่วนประกอบกล้อง 35 มม. D-SLR
เลนส์ (LENS)
เลนส์เป็นส่วนประกอบที่สำคัญ ของกล้องถ่ายภาพ ทำมาจากวัสดุโปร่งใส เช่น แก้ว หรือ พลาสติก ทำหน้าที่หักเหแสงสะท้อนจากวัตถุ เกิดภาพจริงหัวกลับบน ระนาบของฟิล์ม เลนส์ของกล้องถ่ายภาพอาจเป็นเลนส์นูนอันเดียวหรือเป็นชุดเลนส์ย่อยๆ หลายอันประกอบกัน เพื่อให้สามารถปรับการถ่ายภาพ ได้หลายรูปแบบ ชิ้นแก้วหรือพลาสติกทุกชิ้นที่ประกอบขึ้น เป็นเลนส์เกิดจากความประณีตในการผลิต เพื่อให้มีความไวในการรับแสง มีคุณภาพความคมชัดถ่ายทอดสีสัน ตลอดจนมีการแยกขยายรายละเอียดของวัตถุ (Resolution) ได้ดี

มุมรับภาพกับทางยาวโฟกัส มุมรับภาพของเลนส์จะแสดงจำนวนและขนาดของวัตถุที่ปรากฎในภาพเมื่อบันทึกโดยกล้องในตำแหน่งเดียวกัน ภาพเปรียบเทียบทั้งหมดด้านขวามือนี้ บันทึกโดยวางกล้องในตำแหน่งเดียวกันและบันทึกภาพโดยใช้เลนส์ทางยาวโฟกัสแตกต่างกันตั้งแต่เลนส์ตาปลาซึ่งมีมุมรับภาพกว้างถึง 180 องศา จนถึงเลนส์ซุปเปอร์เทเลโฟโต้ 600 มม. จะเห็นผลได้อย่างชัดเจนเมื่อใช้เลนส์ที่มีทางยาวโฟกัสแตกต่างกัน ภาพที่ใช้เลนส์ 50 มม.มีมุมรับภาพใกล้เคียงกับสายตามนุษย์มากที่สุด ภาพที่เลนส์ทางยาวโฟกัสต่ำกว่า 50 มม.จะรับภาพได้กว้างขึ้นตามลำดับ ส่วนที่มีทางยาวโฟกัสสูงกว่า 50 มม.จะมีมุมรับภาพแคบ สามารถถ่ายภาพวัตถุในระยะไกลๆให้เหมือนกับอยู่ในระยะใกล้ได้
ในตัวเลนส์ จะมีกลไกชิ้นหนึ่งที่ใช้ ในการควบคุมปริมาณแสงให้แสงผ่านเลนส์ ไปยังฟิล์มได้มากน้อยตามความต้องการเรียกว่า ไดอะแฟรม มีลักษณะเป็นแผ่น โลหะสีดำบางๆ หลายแผ่นเรียงซ้อนกันเป็นกลีบ มีช่องตรงกลางปรับขนาดให้กว้าง หรือแคบได้เรียกว่า รูรับแสง (Aperture) การปรับขนาดรูรับแสงใช้การปรับที่วง แหวนรูรับแสงบนกระบอกเลนส์
ชัตเตอร์ (Shutter)
ชัตเตอร์หรือความเร็วชัตเตอร์ (Shutter speed) เป็นกลไกอัตโนมัติที่ใช้ สำหรับเปิด-ปิด ทางที่แสง จะผ่านเข้าไปทำปฏิกิริยากับฟิล์ม ตามเวลาที่กำหนด ความ เร็วในการเปิด-ปิดชัตเตอร์ก็คือ เวลาที่ฉาย แสง (Exposure time) มีค่าเป็นเศษส่วน ของวินาทีดังนี้ 1/1 1/2 1/4 1/8 1/15 1/30 1/60 1/125 1/250 1/500 1/1000 และ 1/2000 วินาที เป็นต้น (ซึ่งในกล้องที่ มีระบบการทำงาน ทันสมัย จะมีความเร็วชัตเตอร์ที่สามารถแบ่งได้ละเอียดและสูงขึ้น จนถึง 1/12000 วินาทีทีเดียว) ตัวเลข เหล่านี้มักจะแสดงไว้ที่ แป้นปรับความเร็วชัตเตอร์ โดยจะบอกตัวเลขความเร็วชัตเตอร์ ไว้เฉพาะตัวเลขที่เป็นส่วนของวินาที คือ 1 2 4 8 15 30 60 125 250 500 1000 และ 2000 เป็นต้น
ยังมีชัตเตอร์อีกชนิดหนึ่งใช้ สำหรับการถ่ายภาพที่ต้องการเปิดรับแสง เป็นเวลานาน เช่น การถ่ายภาพ ในเวลา กลางคืน หรือการแสดงแสงสีเสียง และ พลุไฟ นั่นคือ ชัตเตอร์ B (Bulb) ซึ่งเมื่อกด ชัตเตอร์ ม่านชัตเตอร์ จะทำการเปิดค้างไว้ จนกว่าจะกดชัตเตอร์อีกครั้งหนึ่งม่านชัตเตอร์จึงจะทำการปิดลง การใช้งานชัตเตอร์ แบบนี้ต้องใช้ร่วมกับสายลั่นชัตเตอร์และขา ตั้งกล้อง ลักษณะของชัตเตอร์จะมีอยู่ 2 แบบโดยทั่วไปคือ ชัตเตอร์แผ่น (Leaf Shutter) หรือชัตเตอร์ระหว่างเลนส์ (Be- tween-lens Shutter) มีลักษณะเป็นกลีบ โลหะซ้อนกัน ติดตั้งอยู่ในกระบอกเลนส์จะ พบได้กับ กล้องขนาดกลาง ที่ใช้ฟิล์ม ขนาด 120 มม. และกล้องแบบ Rangefinder ชัตเตอร์แบบนี้มีข้อดีคือ สามารถทำงาน สัมพันธ์ไฟแฟลช อิเล็กทรอนิกส์ ได้ทุก ความเร็วชัตเตอร์

สิ่งเคลื่อนไหวกับความเร็วชัตเตอร์ ความเร็วชัตเตอร์จะมีผลโดยตรงกับสิ่งเคลื่อนไหว หากสิ่งที่เราถ่ายภาพอยู่นิ่งกับที่ไม่ว่าใช้ความเร็วชัตเตอร์ที่เท่าใดก็ตามสิ่งนั้นก็ยังคงความนิ่งเช่นเดิม แต่ทว่าหากมีการเคลื่อนไหวเกิดขึ้น การใช้ความเร็วชัตเตอร์ต่ำจะทำให้สิ่งนั้นมีลักษณะเบลอไม่คมชัด แต่ถ้าใช้ความเร็วชัตเตอร์สูงก็สามารถหยุดการเคลื่อนไหวได้
ส่วนชัตเตอร์อีกแบบคือ ชัตเตอร์ ที่ระนาบโฟกัส (Focal-plane Shutter) ชัตเตอร์แบบนี้ ตั้งอยู่ใน ตัวกล้อง วางไว้ทาง ด้านหน้า ของฟิล์ม มีลักษณะเป็นผ้าบางๆ สีดำ ในกล้องบางรุ่น อาจทำจาก พลาสติก โลหะ หรือโลหะผสม เช่น ไททาเนี่ยม ซึ่งมี ความคงทนแข็งแรง มีอายุการใช้งานนาน กว่าและยังมีน้ำหนักที่เบากว่าโลหะด้วย ชัตเตอร์ที่ระนาบโฟกัสมีทั้งแบบเคลื่อนที่ใน แนวนอน และ แนวตั้ง ชัตเตอร์ที่เคลื่อนที่ใน แนวนอนจะสัมพันธ์แฟลชที่ความเร็วชัต- เตอร์สูงสุดประมาณ 1/60 วินาที และชัต- เตอร์ที่เคลื่อนที่แนวตั้งจะสัมพันธ์แฟลชที่ ความเร็วชัตเตอร์สูงสุดประมาณ 1/250 วินาที
ในปัจจุบัน กล้องถ่ายภาพบางรุ่นที่มี ระบบการทำงานสูง ได้พัฒนาจนสามารถ ใช้แฟลช ถ่ายภาพ ได้ทุกความเร็วชัตเตอร์ (สูงสุดในขณะนี้คือสัมพันธ์แฟลชความเร็ว ชัตเตอร์สูงถึง 1/12000 วินาที) ซึ่งกล้องที่มี ระบบสูงๆ เหล่านี้มักจะมีอยู่ในกล้องระดับ โปรหรือระดับมืออาชีพ ที่จำเป็นต้องใช้งาน ระบบนี้ในการทำงาน เช่น ช่างภาพข่าว ช่างภาพกีฬา และช่างภาพสัตว์ป่า เป็นต้น
ช่องมองภาพ (Viewfinder) ช่องมองภาพหรือช่องเล็งภาพ เป็นส่วนที่นักถ่ายภาพใช้มองภาพ เพื่อจัด องค์ประกอบภาพ ให้เป็นไปตามความต้องการ ทำหน้าที่ควบคู่กับเลนส์ถ่ายภาพ
ช่องมองภาพที่ดี จะต้องมีความใสเคลียร์มอง เห็นภาพได้ชัดเจนในขนาดใกล้เคียงกับที่ ตามองเห็น ในปัจจุบันมักจะเป็นกล้องใน ระดับมืออาชีพเท่านั้น ที่สามารถมองเห็น ภาพ ในช่องมองภาพ ได้ในอัตราขยาย 100% ช่องมองภาพของกล้องถ่ายภาพจะมีขนาด ที่แตกต่างกันออกไป
ช่องมองภาพ (Finder)
ช่องมองภาพ มีอยู่ถึง 4 ประเภทคือ ช่องมองภาพแบบเล็งระดับ ตา, ช่องมองภาพแบบปรับระยะชัด, ช่อง มองภาพ แบบ จอปรับชัด และช่องมองภาพ แบบปริซึมห้าเหลี่ยม ในที่นี้จะขอกล่าวถึง ช่องมองภาพ แบบสุดท้าย เนื่องจากเป็น ช่องมองภาพที่ใช้กันทั่วไปในกล้อง 35 มม. SLR ช่องมองภาพแบบปริซึมห้า เหลี่ยม (The Pentaprism) เป็นช่องมอง ภาพที่รับภาพ จากเลนส์ถ่ายภาพโดยตรง ภายตัวกล้อง จะมีกระจกเงาราบ วางทำมุม 45 องศา ภาพจะสะท้อนผ่านแก้วปริซึม พื้นที่หน้าตัดห้าเหลี่ยม ซึ่งจะอยู่ใน ส่วนที่ เรียกว่าหัวกระโหลกกล้อง ทำให้เกิดภาพที่ ช่องมองภาพ ตรงกับ ลักษณะที่ภาพ ตกกระ ทบลงบนแผ่นฟิล์มไม่ว่าจะถอดเปลี่ยนเป็น เลนส์ทางยาวโฟกัสใดก็ตาม ระยะห่าง ระหว่าง เลนส์ ถึง จอรับภาพ (Focusing Screen) จะเท่ากับระยะห่างจากเลนส์ถึง ระนาบฟิล์ม ช่องมองภาพ แบบนี้ จะมีความ สะดวกและได้ผลตรงตามที่ตามองเห็นมาก ที่สุด ในกล้องถ่ายภาพรุ่นสูงๆ
บางรุ่นยังมี ปุ่มปรับแก้สายตาเพื่อให้ผู้ที่มีปัญหาทาง สายตาใช้ปรับแก้การมองภาพ โดยปรับได้ ประมาณ -1 ถึง 3 ไดออปเตอร์ และภาย ในช่องมองภาพของกล้องจะมีไฟสัญญาณ LED แสดง การทำงานต่างๆ ทั้งขนาดรูรับ แสง ความเร็วชัตเตอร์ จำนวนภาพ ระบบ บันทึกภาพแบบต่างๆ อีกทั้งยังแสดงการ ปรับโฟกัส เช่น ในกล้องแบบแมนนวลจะมี รูปไมโครปริซึมปรากฏตรงกลางจอภาพ เพื่อปรับระยะชัด ส่วนในกล้องออโต้โฟกัส ที่มีระบบโฟกัสหลายจุด ภายในจอภาพจะ แสดงกรอบโฟกัสหรือจุดโฟกัส ซึ่งผู้ใช้ สามารถมองเห็นข้อมูลต่างๆ ภายในช่อง มองภาพนั่นเอง
วงแหวนปรับความชัด (Focusing Ring)
บนกระบอกเลนส์ จะมี์ส่วนที่ใช้เพื่อการปรับความชัดของภาพถ่าย คือ วงแหวนปรับความชัด โดยปกติที่ตัวเลนส์จะมีตัวเลขบอกระยะทางความชัดของภาพ เป็นฟุต (f) และเมตร (m) จนถึงระยะไกลสุด (Infinity) การถ่ายภาพเพื่อให้ได้ภาพที่ ชัดเจนสมบูรณ์ ผู้ถ่ายภาพต้องคำนวณระยะทางจากกล้องถึงวัตถุแล้วปรับที่วงแหวน เพื่อหาระยะที่จะทำให้ภาพชัดสมบูรณ์
ในกล้องแบบแมนนวลโฟกัส นั้น มีระบบปรับความชัดให้กับภาพแบ่งออก เป็น 2 แบบ คือ แบบปรับให้ภาพซ้อนกัน (Super Impose) คือ ในช่องมองภาพจะมี ภาพสองภาพซ้อนกันอยู่ ต้องปรับวงแหวน ปรับความชัดให้ภาพทั้ง 2 มาซ้อนกันจน ทับสนิทเป็นภาพเดียวกันภาพถึงจะชัดแบบภาพแยก (Split Image) คือ ในช่องมองภาพตรงกลางของระบบนี้ จะมีวงกลมใสๆ ตรงกลางจอรับภาพ มีเส้นผ่าศูนย์กลางแบ่งครึ่งให้ภาพแยกจากกัน ถ้ายังไม่ได้ปรับความคมชัด ภาพส่วนบนและ ส่วนล่างจะไม่ตรงกัน ต้องปรับที่วงแหวน ปรับความชัด จนภาพทั้งสองต่อสนิทตรง กันจึงจะได้ภาพที่มีความชัดสมบูรณ์ ปัจจุบัน ระบบแบบนี้แทบจะไม่มีให้ใช้กันแล้ว เนื่องจากนักถ่ายภาพหันมานิยมกล้องถ่ายภาพ 35 มม. SLR ที่มีระบบออโต้โฟกัส ซึ่งทำให้กล้องถ่ายภาพรุ่นใหม่ที่ผลิตออกมา ต่างต้องแข่งขันกันในเรื่องของการปรับโฟกัสที่รวดเร็วทันใจและแม่นยำ เป็นสำคัญ
ที่มาจก http://photographer-technical.blogspot.com/2011/10/35-dslr_07.html
เลนส์เป็นส่วนประกอบที่สำคัญ ของกล้องถ่ายภาพ ทำมาจากวัสดุโปร่งใส เช่น แก้ว หรือ พลาสติก ทำหน้าที่หักเหแสงสะท้อนจากวัตถุ เกิดภาพจริงหัวกลับบน ระนาบของฟิล์ม เลนส์ของกล้องถ่ายภาพอาจเป็นเลนส์นูนอันเดียวหรือเป็นชุดเลนส์ย่อยๆ หลายอันประกอบกัน เพื่อให้สามารถปรับการถ่ายภาพ ได้หลายรูปแบบ ชิ้นแก้วหรือพลาสติกทุกชิ้นที่ประกอบขึ้น เป็นเลนส์เกิดจากความประณีตในการผลิต เพื่อให้มีความไวในการรับแสง มีคุณภาพความคมชัดถ่ายทอดสีสัน ตลอดจนมีการแยกขยายรายละเอียดของวัตถุ (Resolution) ได้ดี

มุมรับภาพกับทางยาวโฟกัส มุมรับภาพของเลนส์จะแสดงจำนวนและขนาดของวัตถุที่ปรากฎในภาพเมื่อบันทึกโดยกล้องในตำแหน่งเดียวกัน ภาพเปรียบเทียบทั้งหมดด้านขวามือนี้ บันทึกโดยวางกล้องในตำแหน่งเดียวกันและบันทึกภาพโดยใช้เลนส์ทางยาวโฟกัสแตกต่างกันตั้งแต่เลนส์ตาปลาซึ่งมีมุมรับภาพกว้างถึง 180 องศา จนถึงเลนส์ซุปเปอร์เทเลโฟโต้ 600 มม. จะเห็นผลได้อย่างชัดเจนเมื่อใช้เลนส์ที่มีทางยาวโฟกัสแตกต่างกัน ภาพที่ใช้เลนส์ 50 มม.มีมุมรับภาพใกล้เคียงกับสายตามนุษย์มากที่สุด ภาพที่เลนส์ทางยาวโฟกัสต่ำกว่า 50 มม.จะรับภาพได้กว้างขึ้นตามลำดับ ส่วนที่มีทางยาวโฟกัสสูงกว่า 50 มม.จะมีมุมรับภาพแคบ สามารถถ่ายภาพวัตถุในระยะไกลๆให้เหมือนกับอยู่ในระยะใกล้ได้
ในตัวเลนส์ จะมีกลไกชิ้นหนึ่งที่ใช้ ในการควบคุมปริมาณแสงให้แสงผ่านเลนส์ ไปยังฟิล์มได้มากน้อยตามความต้องการเรียกว่า ไดอะแฟรม มีลักษณะเป็นแผ่น โลหะสีดำบางๆ หลายแผ่นเรียงซ้อนกันเป็นกลีบ มีช่องตรงกลางปรับขนาดให้กว้าง หรือแคบได้เรียกว่า รูรับแสง (Aperture) การปรับขนาดรูรับแสงใช้การปรับที่วง แหวนรูรับแสงบนกระบอกเลนส์
ชัตเตอร์ (Shutter)
ชัตเตอร์หรือความเร็วชัตเตอร์ (Shutter speed) เป็นกลไกอัตโนมัติที่ใช้ สำหรับเปิด-ปิด ทางที่แสง จะผ่านเข้าไปทำปฏิกิริยากับฟิล์ม ตามเวลาที่กำหนด ความ เร็วในการเปิด-ปิดชัตเตอร์ก็คือ เวลาที่ฉาย แสง (Exposure time) มีค่าเป็นเศษส่วน ของวินาทีดังนี้ 1/1 1/2 1/4 1/8 1/15 1/30 1/60 1/125 1/250 1/500 1/1000 และ 1/2000 วินาที เป็นต้น (ซึ่งในกล้องที่ มีระบบการทำงาน ทันสมัย จะมีความเร็วชัตเตอร์ที่สามารถแบ่งได้ละเอียดและสูงขึ้น จนถึง 1/12000 วินาทีทีเดียว) ตัวเลข เหล่านี้มักจะแสดงไว้ที่ แป้นปรับความเร็วชัตเตอร์ โดยจะบอกตัวเลขความเร็วชัตเตอร์ ไว้เฉพาะตัวเลขที่เป็นส่วนของวินาที คือ 1 2 4 8 15 30 60 125 250 500 1000 และ 2000 เป็นต้น
ยังมีชัตเตอร์อีกชนิดหนึ่งใช้ สำหรับการถ่ายภาพที่ต้องการเปิดรับแสง เป็นเวลานาน เช่น การถ่ายภาพ ในเวลา กลางคืน หรือการแสดงแสงสีเสียง และ พลุไฟ นั่นคือ ชัตเตอร์ B (Bulb) ซึ่งเมื่อกด ชัตเตอร์ ม่านชัตเตอร์ จะทำการเปิดค้างไว้ จนกว่าจะกดชัตเตอร์อีกครั้งหนึ่งม่านชัตเตอร์จึงจะทำการปิดลง การใช้งานชัตเตอร์ แบบนี้ต้องใช้ร่วมกับสายลั่นชัตเตอร์และขา ตั้งกล้อง ลักษณะของชัตเตอร์จะมีอยู่ 2 แบบโดยทั่วไปคือ ชัตเตอร์แผ่น (Leaf Shutter) หรือชัตเตอร์ระหว่างเลนส์ (Be- tween-lens Shutter) มีลักษณะเป็นกลีบ โลหะซ้อนกัน ติดตั้งอยู่ในกระบอกเลนส์จะ พบได้กับ กล้องขนาดกลาง ที่ใช้ฟิล์ม ขนาด 120 มม. และกล้องแบบ Rangefinder ชัตเตอร์แบบนี้มีข้อดีคือ สามารถทำงาน สัมพันธ์ไฟแฟลช อิเล็กทรอนิกส์ ได้ทุก ความเร็วชัตเตอร์

สิ่งเคลื่อนไหวกับความเร็วชัตเตอร์ ความเร็วชัตเตอร์จะมีผลโดยตรงกับสิ่งเคลื่อนไหว หากสิ่งที่เราถ่ายภาพอยู่นิ่งกับที่ไม่ว่าใช้ความเร็วชัตเตอร์ที่เท่าใดก็ตามสิ่งนั้นก็ยังคงความนิ่งเช่นเดิม แต่ทว่าหากมีการเคลื่อนไหวเกิดขึ้น การใช้ความเร็วชัตเตอร์ต่ำจะทำให้สิ่งนั้นมีลักษณะเบลอไม่คมชัด แต่ถ้าใช้ความเร็วชัตเตอร์สูงก็สามารถหยุดการเคลื่อนไหวได้
ส่วนชัตเตอร์อีกแบบคือ ชัตเตอร์ ที่ระนาบโฟกัส (Focal-plane Shutter) ชัตเตอร์แบบนี้ ตั้งอยู่ใน ตัวกล้อง วางไว้ทาง ด้านหน้า ของฟิล์ม มีลักษณะเป็นผ้าบางๆ สีดำ ในกล้องบางรุ่น อาจทำจาก พลาสติก โลหะ หรือโลหะผสม เช่น ไททาเนี่ยม ซึ่งมี ความคงทนแข็งแรง มีอายุการใช้งานนาน กว่าและยังมีน้ำหนักที่เบากว่าโลหะด้วย ชัตเตอร์ที่ระนาบโฟกัสมีทั้งแบบเคลื่อนที่ใน แนวนอน และ แนวตั้ง ชัตเตอร์ที่เคลื่อนที่ใน แนวนอนจะสัมพันธ์แฟลชที่ความเร็วชัต- เตอร์สูงสุดประมาณ 1/60 วินาที และชัต- เตอร์ที่เคลื่อนที่แนวตั้งจะสัมพันธ์แฟลชที่ ความเร็วชัตเตอร์สูงสุดประมาณ 1/250 วินาที
ในปัจจุบัน กล้องถ่ายภาพบางรุ่นที่มี ระบบการทำงานสูง ได้พัฒนาจนสามารถ ใช้แฟลช ถ่ายภาพ ได้ทุกความเร็วชัตเตอร์ (สูงสุดในขณะนี้คือสัมพันธ์แฟลชความเร็ว ชัตเตอร์สูงถึง 1/12000 วินาที) ซึ่งกล้องที่มี ระบบสูงๆ เหล่านี้มักจะมีอยู่ในกล้องระดับ โปรหรือระดับมืออาชีพ ที่จำเป็นต้องใช้งาน ระบบนี้ในการทำงาน เช่น ช่างภาพข่าว ช่างภาพกีฬา และช่างภาพสัตว์ป่า เป็นต้น
ช่องมองภาพ (Viewfinder) ช่องมองภาพหรือช่องเล็งภาพ เป็นส่วนที่นักถ่ายภาพใช้มองภาพ เพื่อจัด องค์ประกอบภาพ ให้เป็นไปตามความต้องการ ทำหน้าที่ควบคู่กับเลนส์ถ่ายภาพ
ช่องมองภาพที่ดี จะต้องมีความใสเคลียร์มอง เห็นภาพได้ชัดเจนในขนาดใกล้เคียงกับที่ ตามองเห็น ในปัจจุบันมักจะเป็นกล้องใน ระดับมืออาชีพเท่านั้น ที่สามารถมองเห็น ภาพ ในช่องมองภาพ ได้ในอัตราขยาย 100% ช่องมองภาพของกล้องถ่ายภาพจะมีขนาด ที่แตกต่างกันออกไป
ช่องมองภาพ (Finder)
ช่องมองภาพ มีอยู่ถึง 4 ประเภทคือ ช่องมองภาพแบบเล็งระดับ ตา, ช่องมองภาพแบบปรับระยะชัด, ช่อง มองภาพ แบบ จอปรับชัด และช่องมองภาพ แบบปริซึมห้าเหลี่ยม ในที่นี้จะขอกล่าวถึง ช่องมองภาพ แบบสุดท้าย เนื่องจากเป็น ช่องมองภาพที่ใช้กันทั่วไปในกล้อง 35 มม. SLR ช่องมองภาพแบบปริซึมห้า เหลี่ยม (The Pentaprism) เป็นช่องมอง ภาพที่รับภาพ จากเลนส์ถ่ายภาพโดยตรง ภายตัวกล้อง จะมีกระจกเงาราบ วางทำมุม 45 องศา ภาพจะสะท้อนผ่านแก้วปริซึม พื้นที่หน้าตัดห้าเหลี่ยม ซึ่งจะอยู่ใน ส่วนที่ เรียกว่าหัวกระโหลกกล้อง ทำให้เกิดภาพที่ ช่องมองภาพ ตรงกับ ลักษณะที่ภาพ ตกกระ ทบลงบนแผ่นฟิล์มไม่ว่าจะถอดเปลี่ยนเป็น เลนส์ทางยาวโฟกัสใดก็ตาม ระยะห่าง ระหว่าง เลนส์ ถึง จอรับภาพ (Focusing Screen) จะเท่ากับระยะห่างจากเลนส์ถึง ระนาบฟิล์ม ช่องมองภาพ แบบนี้ จะมีความ สะดวกและได้ผลตรงตามที่ตามองเห็นมาก ที่สุด ในกล้องถ่ายภาพรุ่นสูงๆ
บางรุ่นยังมี ปุ่มปรับแก้สายตาเพื่อให้ผู้ที่มีปัญหาทาง สายตาใช้ปรับแก้การมองภาพ โดยปรับได้ ประมาณ -1 ถึง 3 ไดออปเตอร์ และภาย ในช่องมองภาพของกล้องจะมีไฟสัญญาณ LED แสดง การทำงานต่างๆ ทั้งขนาดรูรับ แสง ความเร็วชัตเตอร์ จำนวนภาพ ระบบ บันทึกภาพแบบต่างๆ อีกทั้งยังแสดงการ ปรับโฟกัส เช่น ในกล้องแบบแมนนวลจะมี รูปไมโครปริซึมปรากฏตรงกลางจอภาพ เพื่อปรับระยะชัด ส่วนในกล้องออโต้โฟกัส ที่มีระบบโฟกัสหลายจุด ภายในจอภาพจะ แสดงกรอบโฟกัสหรือจุดโฟกัส ซึ่งผู้ใช้ สามารถมองเห็นข้อมูลต่างๆ ภายในช่อง มองภาพนั่นเอง
วงแหวนปรับความชัด (Focusing Ring)
บนกระบอกเลนส์ จะมี์ส่วนที่ใช้เพื่อการปรับความชัดของภาพถ่าย คือ วงแหวนปรับความชัด โดยปกติที่ตัวเลนส์จะมีตัวเลขบอกระยะทางความชัดของภาพ เป็นฟุต (f) และเมตร (m) จนถึงระยะไกลสุด (Infinity) การถ่ายภาพเพื่อให้ได้ภาพที่ ชัดเจนสมบูรณ์ ผู้ถ่ายภาพต้องคำนวณระยะทางจากกล้องถึงวัตถุแล้วปรับที่วงแหวน เพื่อหาระยะที่จะทำให้ภาพชัดสมบูรณ์
ในกล้องแบบแมนนวลโฟกัส นั้น มีระบบปรับความชัดให้กับภาพแบ่งออก เป็น 2 แบบ คือ แบบปรับให้ภาพซ้อนกัน (Super Impose) คือ ในช่องมองภาพจะมี ภาพสองภาพซ้อนกันอยู่ ต้องปรับวงแหวน ปรับความชัดให้ภาพทั้ง 2 มาซ้อนกันจน ทับสนิทเป็นภาพเดียวกันภาพถึงจะชัดแบบภาพแยก (Split Image) คือ ในช่องมองภาพตรงกลางของระบบนี้ จะมีวงกลมใสๆ ตรงกลางจอรับภาพ มีเส้นผ่าศูนย์กลางแบ่งครึ่งให้ภาพแยกจากกัน ถ้ายังไม่ได้ปรับความคมชัด ภาพส่วนบนและ ส่วนล่างจะไม่ตรงกัน ต้องปรับที่วงแหวน ปรับความชัด จนภาพทั้งสองต่อสนิทตรง กันจึงจะได้ภาพที่มีความชัดสมบูรณ์ ปัจจุบัน ระบบแบบนี้แทบจะไม่มีให้ใช้กันแล้ว เนื่องจากนักถ่ายภาพหันมานิยมกล้องถ่ายภาพ 35 มม. SLR ที่มีระบบออโต้โฟกัส ซึ่งทำให้กล้องถ่ายภาพรุ่นใหม่ที่ผลิตออกมา ต่างต้องแข่งขันกันในเรื่องของการปรับโฟกัสที่รวดเร็วทันใจและแม่นยำ เป็นสำคัญ
ที่มาจก http://photographer-technical.blogspot.com/2011/10/35-dslr_07.html
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น