วันพฤหัสบดีที่ 25 สิงหาคม พ.ศ. 2554

ประเด็นออกข้อสอบ วิชาสุนทรียศาสตร์ (2301-1004)


วิชา 2301-1004 สุนทรียศาสตร์เบื้องต้น

คำอธิบายรายวิชา (สุนทรียศาสตร์เบื้องต้น)
          ศึกษาความคิดเห็น การชื่นชมความงามตามหลักสุนทรียศาสตร์ เพื่อพัฒนารสนิยม เปิดโลกทัศน์การรับรู้ คุณค่าทางความงาม เชิงภูมิปัญญา วัฒนธรรมแบบศิลปะไทย ศิลปะแบบสากล ยุคก่อนประวัติศาสตร์ ,ยุคประวัติศาสตร์ , ยุคใหม่
มาตรฐานรายวิชา
          มีความรู้ คุณค่าของความงาม รูปแบบศิลปะแต่ละยุคสมัย ภูมิปัญญาวัฒนธรรม รูปแบบศิลปะไทย-สากล การประเมินคุณค่าตามหลักการวิจารณ์โดยคำนึงถึงกระบวนการ ขั้นตอน เหตุผล ความสอดคล้อง ขบวนการเทคนิควิธีการ เนื้อหา รูปทรง ความคิดสร้างสรรค์ คุณค่าทางความงามและเรื่องราว
สมรรถนะรายวิชา
          1.ประเมินคุณค่าตามหลักการวิจารณ์งานศิลปะ เพื่อประเมินชีวิตประจำวัน
          2. ใช้กระบวนการ ขั้นตอน เหตุผลในความรู้ทางสุนทรียศาสตร์ได้
          3. ประยุกต์ใช้ความรู้ทางสุนทรียศาสตร์ ในวิชาชีพ และชีวิตประจำวัน
ประเด็นออกข้อสอบ
          1. ความรู้เบื้องต้นของสุนทรียศาสตร์
1.1 ความหมายของสุนทรียศาสตร์
1.2 ความสำคัญของสุนทรียศาสตร์
1.3 ความเป็นมาของสุนทรียศาสตร์
สาระสำคัญ
          อธิบายถึงความหมาย ความเป็นมา และความสำคัญ ทางด้านสุนทรียศาสตร์ สุนทรียภาพคือ ความซาบซึ้งในความงาม คุณค่าแห่งความประณีต และเรื่องราว โดยเกิดจากการรับรู้ของมนุษย์
          อธิบายถึงความงาม ความงามคือ การกำหนดความรู้สึกจากการรับรู้สู่จิตใจตามภาวะที่มีความเหมาะสมกับกาลเทศะ ตามความต้องการและรสนิยมของคนส่วนใหญ่ในสังคมนั้นๆ
การชื่นชมความงามตามหลักสุนทรียศาสตร์ เพื่อพัฒนารสนิยม เปิดโลกทัศน์การรับรู้ คุณค่าทางความงาม เชิงภูมิปัญญา วัฒนธรรมแบบศิลปะไทย ศิลปะแบบสากล ยุคก่อนประวัติศาสตร์ ,ยุคประวัติศาสตร์ , ยุคใหม่
ข้อสอบ
1.      ข้อใดคือความหมายของสุนทรียศาสตร์
1.      ศาสตร์ของการรับรู้ในความงามของศิลปะโดยตรง
2.       ศาสตร์ของการรับรู้ในความเข้าใจของศิลปะ
3.       ศาสตร์ที่มีความซาบซึ้งในศิลปะ
4.       ศาสตร์ในความงามของมนุษย์
5.       ศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับความรู้สึก
2.ข้อใด ไม่ใช่ ความหมายของสุนทรียภาพ
1. ปรัชญาความงาม
2. ภาพคนเหมือน
3. มาตรฐานที่ใช้วิจารณ์ศิลปะ
4. ปรัชญาของศิลปะ
5. การศึกษาประสบการณ์สุนทรียภาพ
3.  ข้อต่อไปนี้ข้อใดไม่ใช่ลักษณะของผู้ที่มีความคิดสร้างสรรค์สูง
1. มีความเป็นตัวของตัวเอง
2.  มีความไวต่อการรับรู้
3.  มีความสามารถในการวิเคราะห์ปัญหาเฉพาะเรื่องที่สร้างสรรค์
4.  เป็นคนไจกว้างมองโลกในแง่ดี
5.  มีอิสระทางความคิด
ประเด็นออกข้อสอบ
          2. องค์ประกอบของสุนทรียศาสตร์
2.1 สุนทรียวัตถุ
2.2 การรับรู้ของมนุษย์
2.3 สุนทรียรส
ข้อสอบ
4. ข้อใด เป็นความงามในศิลปะ
1. พระพุทธรูป
2. เครื่องปั้นดินเผ่า
3. เครื่องจักสาน
4. ข้อ 1 และข้อ 3 ถูก
5. ข้อ 1, 2, 3 ถูก
5. ปัจจัยการเกิดของผลงานศิลปะคือข้อใด
1. มนุษย์
2. สิ่งแวดล้อม
3. อารมณ์และความคิด
4. วัสดุ
5.  ถูกทุกข้อ
6. ส่วนประกอบที่ทำให้เกิดความในงานศิลปะ คือข้อใด
1. จิตรกรรม
2. ประติมากรรม
3. สถาปัตยกรรม
4. วรรณกรรม
5. ข้อ 1,2,3 และ 4 ถูก
7. มนุษย์เป็นตัวแปรค่า และทำให้เกิดคุณค่าของงานทัศนศิลป์ประกอบไปด้วยอะไร
1. ความงาม
2.ความประณีต
3. เรื่องราว
4. ประโยชน์ใช้สอย
5. ถูกทุกข้อ


ประเด็นออกข้อสอบ
          3. ทฤษฏีความงาม
3.1 ความงามทางธรรมชาติ
3.2 ความงามทางด้านจิตใจ
3.3 ความงามทางทัศนศิลป์
ข้อสอบ
8. ข้อใด ไม่ใช่ ประเภทของงานศิลปะ
1. วิจิตรศิลป์
2. จิตรกรรม
3. ออกแบบ
4. ประติมากรรม
5. สถาปัตยกรรม
9. ส่วนประกอบพื้นฐานในการสร้างสรรค์งานทัศนศิลป์
1. จุด
2. เส้น
3. รูปร่าง
4. น้ำหนัก
5. ถูกทุกข้อ
10. การรู้ค่าของวิจิตรศิลป์ คือ
1. ความละเอียด
2. เรื่องราว
3. ประณีต
4. ความดีงาม
5. ข้อ 1,2,3,4, ถูก
11.  การประเมินคุณค่าผลงานทัศนศิลป์ โดยนำหลักเกณฑ์ทางศิลปะ อะไร
1. รูปแบบผลงาน
2. ความงาม
3. เรื่องราว
4. ความคิดสร้างสรรค์
5. ถูกทุกข้อ
12. สถาปัตยกรรมที่ถูกเรียกว่า ฝรั่งใส่ชฎา คือ สถานที่ใด
1. พระที่นั่งพุทไธสวรรย์
2. พระที่นั่งอมรินทราภิเษก
3. พระที่นั่งจักรีมหาปราสาท
4. พระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท
5. พระที่นั่งวังไกลกังวล
ประเด็นออกข้อสอบ
          4. วิวัฒนาการรูปแบบศิลปะเชิงสุนทรียศาสตร์ตะวันตก
4.1 ยุคก่อนประวัติศาสตร์
4.2 ยุคประวัติศาสตร์
4.3 ยุคปัจจุบัน
ข้อสอบ
13. สมัยฟื้นฟูศิลปวิทยา ผู้ที่เป็นทั้ง จิตรกร ประติมากรและนักวิทยาศาสตร์ คือใคร
1. เลโอนาร์โด กาวินซี  
2. มิเคลัน เจโล
3. ปีเตอร์
4. ปิสซาร์โร
5. ราฟาเอล 
14. ศิลปะร่วมสมัย คือ ข้อใด
1. ศิลปะที่เกิดในสมัยปัจจุบัน
2. ศิลปะที่มีรูปแบบและเนื้อหาร่วมกัน
3. ศิลปะที่รูปแบบทัศนศิลป์
4. ศิลปะที่ร่วมกาลเวลา และ ความคิด
5. ศิลปะที่ร่วมหลักการทางสุนทรียศาสตร์
15. มนุษย์รู้จักการพิมพ์ภาพเมื่อประมาณคริสต์ศตวรรษที่ 7 ในประเทศอะไร
1. อียีปต์ และ กรีก
2. จีน และ เกาหลี 
3. จีน และญี่ปุ่น
4. เกาหลี และ ญี่ปุ่น
5. อียีปต์ และ จีน
ประเด็นออกข้อสอบ
          5. วิวัฒนาการรูปแบบศิลปะเชิงสุนทรียศาสตร์ตะวันออก
5.1 ยุคก่อนสมัยใหม่
5.2 ยุคสมัยใหม่
5.3 ยุคสมัยใหม่-ปัจจุบัน

ข้อสอบ
16. ลักษณะทางกายภาพของงานประติมากรรม ตรงกับข้อไหน
1. ประติมากรรมลอยตัว
2. ประติมากรรมนูน
3. ประติมากรรมนูนสูง
4. ประติมากรรมนูนต่ำ
5. ถูกทุกข้อ
17. ข้อใด ไม่ใช่ หลักการดูงานทัศนศิลป์ไทยเบื้องต้น
1. ดูว่าเป็นศิลปะสาขาอะไร แขนงอะไร
          2. ดูสิ่งที่ทำให้เกิดมิติในผลงานทัศนศิลป์
3.ดูส่วนประกอบของความงาม เช่น จุด เส้น น้ำหนัก ฯลฯ
4. ดูตามความเข้าใจและความชอบของตนเอง
5. ข้อ 1,2 และ ข้อ 3 ถูก
18. สาเหตุในการสร้างงานประติมากรรม
1. ความต้องการด้านการใช้สอย
2. ความต้องการทางด้านจิตใจ
3. ความต้องการทางด้านวัตถุ
4. ข้อ 1 และ 2 ถูก
5. ข้อ 1 และ 3 ถูก

ประเด็นออกข้อสอบ
          6. ศิลปะวิจารณ์
6.1 การบรรยาย
6.2 การวิเคราะห์
6.3 การตีความและการตัดสิน

ข้อสอบ
19.  การวิจารณ์งานศิลปะที่ดี  ควรคำนึงถึงเรื่องใดเป็นสำคัญ
1.  ต้องมีความคิดเห็นเหมือน ๆ  กัน
2.  สามารถใช้รสนิยมส่วนตัว
3.  สิ่งที่เราคิดจะต้องถูกต้องเสมอ
4.    เป็นสิ่งที่ตนเองถนัดและชอบ
5.  ต้องพิจารณาอย่างมีเหตุผล
20.  พิจารณาจากเรื่องใด เป็นการวิเคราะห์งานศิลปะ 
1. ความคิดสร้างสรรค์ วัสดุ-อุปกรณ์ 
2.  ประสบการณ์  ฝีมือ  วัสดุ  -  อุปกรณ์
3.  ฝีมือ  วัสดุ-อุปกรณ์  ความคิดสร้างสรรค์
4.  ประสบการณ์  ฝีมือ  ความคิดสร้างสรรค์
5.  ประสบการณ์  วัสดุ  อุปกรณ์  ความคิดสร้างสรรค์
21.  การวิจารณ์ศิลปะเพื่อที่จะให้เกิดการเข้าใจง่าย ควรใช้วิธีใด
1.   นักวิจารณ์ต้องยึดหลักการจัดองค์ประกอบศิลป์
2.   นักวิจารณ์ต้องมีความตระหนักและฝึกฝนการวิจารณ์
3.   นักวิจารณ์ต้องมีวิธีการพูด การเขียนบรรยายให้เข้าใจง่าย
4.   นักวิจารณ์ต้องมีความตระหนักและฝึกฝนการวิจารณ์
5.   นักวิจารณ์ต้องบรรยายตีความเรื่องใดเรื่องหนึ่งเท่านั้น
22.  ข้อควรคำนึงถึงเรื่อง  การวิจารณ์เพื่อประเมินผลงานศิลปะคือข้อใด
1.  หลักเกณฑ์และแบบประเมิน
2.  การวิเคราะห์และเหตุผล
3.  การแสดงความคิดเห็น
4.  หลักเกณฑ์และเหตุผล
5. ความดีงาม
23.  ข้อใด เกี่ยวข้องกับสุนทรียศาสตร์
1.  ความรู้สึกของการรับรู้ความงาม
2.  หลักเกณฑ์ของความงาม
3.  ประสบการณ์ตรงของบุคคลสร้างความพอใจรับรู้ได้ชื่นชมได้
4. พฤติกรรมการตอบสนองของมนุษย์เรื่องราวความเชื่อ ผลงานที่มนุษย์สร้าง
5.  ถูกทุกข้อ
24.  ข้อใดเป็นลักษณะการวิจารณ์งานศิลปะที่ดี
1.  วิจารณ์ตามความรู้สึก
2.  วิจารณ์ตามความรู้สึก  และตามหลักทฤษฎี
3.  วิจารณ์  ตามเนื้อหา  สาระ  และตามความรู้สึก
4.  วิจารณ์ตามเนื้อหาสาระ
5. วิจารณ์ตามอุดมคติของผู้วิจารณ์
25.  ข้อใดไม่ใช่จุดมุ่งหมายของการวิจารณ์
1.  เพื่อให้เกิดความชื่นชมในงานศิลปะเห็นคุณค่าในความงามหรือมีสุนทรียภาพ
2.  เพื่อให้เกิดความสนุกสนานในการสร้างสรรค์ผลงานศิลปะ
3.  เพื่อให้มีจิตสำนึกในการอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมและสิ่งแวดล้อม
4.  เพื่อเป็นข้อคิดในการพัฒนาปรับปรุงข้อบกพร่องในผลงานศิลปะ
5. เพื่อให้เกิดความรู้สึกรับรู้ในความงาม
26.  ข้อใดไม่ใช่คุณสมบัติที่ดีของผู้วิจารณ์งานศิลปะ
1.  เป็นผู้มีความสนใจทันสมัยต่อโลกยุคข้อมูลข่าวสาร
2.  เป็นผู้มีความสามารถวิเคราะห์ตีความและประเมินค่าในรูปแบบผลงานที่มองเห็น
3.  เป็นผู้มีความเป็นประชาธิปไตยยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น
4.  เป็นผู้มีความสามารถและมีความเชื่อมั่นในตัวเองสูง
5. เป็นผู้มีจิตใจชื่นชมในศิลปะและสุนทรียภาพอย่างแท้จริง
27.  ข้อใดไม่ใช่คุณค่าของการวิจารณ์
1.  ช่วยจรรโลงจิตใจของคนในสังคมให้มีความสุข  มีสุนทรียภาพและมีรสนิยมทางความงาม
2.  ผู้วิจารณ์มีความรู้ความเข้าใจและได้ชื่นชมศิลปะมากขึ้น
3.  สิ่งที่ผู้วิจารณ์คิดจะถูกต้องฝ่ายเดียว  เพราะเกิดขึ้นจากอาศัยประสบการณ์  ทัศนคติ  ค่านิยม  เป็นพื้นฐาน
4.  ศิลปินได้ข้อคิดนำไปปรับปรุง  พัฒนาสร้างสรรค์ผลงานให้ดีขึ้น
5. ถูกทุกข้อ
28.  ข้อใดเป็นการใช้เครื่องมือในการวิจารณ์งานศิลปะ
1.   แบบประเมินศิลปะ
2.   คนเป็นผู้ประเมินค่าจากการรับรู้       
3.   เทอร์มอมิเตอร์
4.   คอมพิวเตอร์
5.   แบบสอบถามทั่วไป
29.  การวิจารณ์ศิลปะเพื่อที่จะให้เกิดการเข้าใจง่าย ควรใช้วิธีใด
1.   นักวิจารณ์ต้องยึดหลักการจัดองค์ประกอบศิลป์
2.   นักวิจารณ์ต้องมีความตระหนักและฝึกฝนการวิจารณ์
3.   นักวิจารณ์ต้องมีวิธีการพูด การเขียนบรรยายให้เข้าใจง่าย
4.   นักวิจารณ์ต้องมีความตระหนักและฝึกฝนการวิจารณ์
5.   นักวิจารณ์ต้องบรรยายตีความเรื่องใดเรื่องหนึ่งเท่านั้น
30. ข้อใดไม่ใช่การบรรยายมีผลต่องานศิลปะ
          1. ความรู้ความเข้าใจในงานศิลปะ
          2. ความคิดสร้างสรรค์ของงานศิลปะ
          3. ความคิดรวบยอดของงานศิลปะ
          4.ความขัดแย้ง
          5. ความเข้าใจและการรับรู้ทางด้านศิลปะ

เฉลยมาแล้วครับนักเรียน 


เฉลยข้อสอบ
1)            1
2)            2
3)            3
4)            5
5)            5
6)            5
7)            5
8)            3
9)            5
10)     5
11)     5
12)     3
13)     1
14)     4
15)     5
16)     5
17)     4
18)     4
19)     5
20)     4
21)     3
22)     4
23)     5
24)     4
25)     2
26)     4
27)     3
28)     2
29)     3
30)     4
 

ไม่มีความคิดเห็น: