วันศุกร์ที่ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2554

V-NET วิชาวาดเขียนเบื้องต้น 2301-1002

มาตรฐานรายวิชา
            วาดเขียนรูปทรงด้วยเทคนิคพื้นฐานตามหลักการโดยคำนึงถึงหลักการจัดภาพ กระบวนการขั้นตอน เทคนิควิธีการ โครงสร้างสัดส่วน ปริมาตรของรูปทรง ลักษณะผิวของวัตถุ มิติ การตรวจสอบและปรับปรุงผลงานของตนเอง

สมรรถนะรายวิชา
1.       รู้คุณสมบัติวัสดุอุปกรณ์อันทำให้เกิดเทคนิควาดเขียนที่มีคุณสมบัติ แสดงออกทาง
คุณค่าความงามเฉพาะ
2.   เข้าใจขั้นตอนกระบวนการวาดเขียน
3.   ตระหนัก รู้สาระ คิดเป็น ทำเป็น แก้ปัญหาเป็น โดยรู้จักตรวจสอบปรับปรุงขั้นตอน
การทำงานด้วยตนเอง
4.   มีทักษะในการประเมินคุณค่าผลงาน
5.   มีกิจนิสัยที่ดีในการปฏิบัติงาน รับผิดชอบ มุ่งมั่น ขยัน หมั่นเพียร      

ประเด็นออกข้อสอบ
1.       วัสดุ-อุปกรณ์ในการวาดเขียนเบื้องต้น
1.1  วัสดุ-อุปกรณ์ที่ใช้ในการวาดเขียนเบื้องต้น
1.2  การเหลาและการจับดินสอเพื่อการวาดเขียน
1.3  การฝึกลากเส้นตรงและเส้นโค้งลักษณะต่างๆ
     2.   การวาดเขียนรูปร่าง รูปทรงในลักษณะต่างๆ
          2.1  การใช้เส้นโดยใช้ประสาทสัมผัส
          2.2  การใช้เส้นในการวาดเขียนโครงสร้าง และรูปทรงต่างๆ
          2.3  การแสดงมิติ ผิว มวลและปริมาตรด้วยเส้น
     3.   สีและแสงเงา
          3.1  การแสดงค่าน้ำหนักของสี
          3.2  การแสดงค่าน้ำหนักของแสง
          3.3  การแสดงค่าน้ำหนักของเงา
    

     4.  การตรวจสอบและปรับปรุงผลงาน
         4.1  การสังเกตและเปรียบเทียบโครงสร้าง ขนาด และสัดส่วนของหุ่นต้นแบบ
         4.2  การสังเกตและเปรียบเทียบลักษณะผิว ระยะ มิติ มวลและ ปริมาตรของหุ่นต้นแบบ
         4.3  การสังเกตและเปรียบเทียบค่าน้ำหนักของสี แสงและเงาของหุ่นต้นแบบ
      

ข้อ
ประเด็นออกข้อสอบ

คะแนนเต็ม
  ระดับพฤติกรรม
1-10



11-20




21-40



41-50
1.  การใช้วัสดุ-อุปกรณ์ในการวาดเขียนเบื้องต้น
    1.1  วัสดุ-อุปกรณ์ที่ใช้ในการวาดเขียนเบื้องต้น
    1.2  การเหลาและการจับดินสอเพื่อการวาดเขียน
    1.3  การฝึกลากเส้นตรงและเส้นโค้งลักษณะต่างๆ
2.  การวาดเขียนรูปร่าง รูปทรงในลักษณะต่างๆ
    2.1  การใช้เส้นโดยใช้ประสาทสัมผัส
    2.2  การใช้เส้นในการวาดเขียนโครงสร้าง และ   รูปทรงต่างๆ
    2.3  การแสดงมิติ ผิว มวลและปริมาตรด้วยเส้น
3.  สีและแสงเงา
    3.1  การแสดงค่าน้ำหนักของสี
    3.2  การแสดงค่าน้ำหนักของแสง
    3.3  การแสดงค่าน้ำหนักของเงา
4.  การตรวจสอบและปรับปรุงผลงาน
    4.1  การสังเกตและเปรียบเทียบโครงสร้าง ขนาด และสัดส่วนของหุ่นต้นแบบ
    4.2  การสังเกตและเปรียบเทียบลักษณะผิว ระยะ มิติ มวลและ ปริมาตรของหุ่นต้นแบบ
    4.3  การสังเกตและเปรียบเทียบค่าน้ำหนักของสี แสงและเงาของหุ่นต้นแบบ
  

5
3
2

2
4

4

5
12
3

3

4

3

รู้ จำ ใช้
รู้ จำ ใช้
ใช้

 รู้ จำ ใช้
ใช้ วิ สัง

ใช้ วิ สัง

ใช้ วิ สัง ประ

ใช้ วิ สัง ประ

ใช้ วิ สัง ประ

ใช้ วิ สัง ประ

ใช้ วิ สัง ประ

                                 รวม 50  ข้อ
 50 คะแนน






1.  การใช้วัสดุ-อุปกรณ์ในการวาดเขียนเบื้องต้น
1.1  วัสดุ-อุปกรณ์ที่ใช้ในการวาดเขียนเบื้องต้น
1.2  การเหลาและการจับดินสอเพื่อการวาดเขียน
1.3  การฝึกลากเส้นตรงและเส้นโค้งลักษณะต่างๆ

สาระสำคัญ
        การเลือกใช้วัสดุ-อุปกรณ์ในการวาดเขียนมีความสำคัญที่จะต้องเลือกใช้ให้เหมาะสมกับการวาดเขียน ส่วนการเหลาและการจับดินสอ ก็จะต้องเหลาและจับให้ถูกต้องเหมาะสมกับลักษณะของงานตามความถนัดของแต่ละบุคคล ผลงานที่สำเร็จก็จะมีคุณภาพด้วยเช่นกัน

ข้อสอบวิชาวาดเขียนเบื้องต้น  รหัสวิชา 2301-1002

คำชี้แจง  จงเลือกคำตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงคำตอบเดียว

1.  อุปกรณ์วาดเขียนที่สำคัญที่สุดคือข้อใด
     1. กระดาษวาดเขียนกับดินสอ HB-EE
     2. กระดานรองวาดกับมีดเหลาดินสอ
     3. ปากกาลูกลื่นกับแท่งถ่านเกรยอง
     4. ยางลบเนื้ออ่อนกับคลิปหนีบกระดาษ
     5. กระดานรองวาดกับดินสอEE
2.   ดินสอประเภทใดเหมาะสมกับงานวาดเขียน
     1. ดินสอชนิดไส้อ่อน 1B-6B และ EB-EE
     2. ดินสอชนิดไส้ปานกลาง HB-F
     3. ดินสอชนิดไส้แข็ง 1H-9H
     4. ดินสอชนิดไส้แบน B-2B
     5. ดินสอชนิดใดก็ได้
3.  สัญลักษณ์อักษรที่กำกับบนส่วนท้ายดินสอเพื่อกำหนดอะไร
     1. คุณค่าของดินสอ
     2. ขนาดของไส้ดินสอ
     3. ลักษณะเฉพาะของดินสอ
     4. ค่าน้ำหนักอ่อน-แก่ของไส้ดินสอ
     5. ชื่อย่อของบริษัทผู้ผลิต
4.  ไส้ดินสอทำมาจากอะไร
     1. ดินผสมถ่านดำ
     2. ดินผสมตะกั่วดำ
     3. ดินผสมดีบุก
     4. ดินผสมแกรไฟต์
     5. ดินผสมถ่านชาโคล
5.  ดินสอ HB บอกถึงอะไร
     1. แข็งน้อย - ดำน้อย
     2. แข็งมาก - ดำมาก
     3. แข็งที่สุด - ดำที่สุด
     4. แข็งปานกลาง ดำปานกลาง
     5. ชื่อย่อของบริษัทผู้ผลิต
6.  การเหลาดินสอเพื่อการวาดเขียนควรเหลาดินสออย่างไร
     1. เป็นรูปกรวยไส้ดินสอยาวประมาณ 0.5 ซม.
     2. เป็นรูปกรวยไส้ดินสอยาวประมาณ  1  ซม.
     3. เป็นรูปกรวยไส้ดินสอยาวประมาณ 1.5 ซม.
     4. เป็นรูปกรวยไส้ดินสอยาวประมาณ  2  ซม.
     5. เป็นรูปกรวยไส้ดินสอยาวเท่าไรก็ได้ไม่จำกัด
7.  การจับดินสอแบบธรรมดามีลักษณะการจับอย่างไร
     1. จับให้ปลายดินสอยาวๆจรดกระดาษในลักษณะหลวมๆ
     2. จับให้ปลายดินสอสั้นๆจรดกระดาษในลักษณะแน่นๆ
     3. จับดินสอคล้ายปากกาเขียนหนังสือ
     4. จับดินสอวางบนฝ่ามือหลวมๆ
     5. จับให้ไส้ดินสอแนบผิวกระดาษในแนวนอน
8.  การจับดินสอแบบคว่ำมือมีลักษณะการจับอย่างไร
     1. จับให้ปลายดินสอยาวๆจรดกระดาษในลักษณะหลวมๆ
     2. จับให้ปลายดินสอสั้นๆจรดกระดาษในลักษณะแน่นๆ
     3. จับดินสอคล้ายปากกาเขียนหนังสือ
     4. จับดินสอวางบนฝ่ามือหลวมๆ
     5. จับให้ไส้ดินสอแนบผิวกระดาษในแนวนอน
9.  โครงสร้างของรูปวงกลมคือสี่เหลี่ยมใด
     1. สี่เหลี่ยมจัตุรัส
     2. สี่เหลี่ยมผืนผ้า
     3. สี่เหลี่ยมคางหมู
     4. สี่เหลี่ยมขนมเปียกปูน
     5. สี่เหลี่ยมด้านไม่เท่า
10. รูปวงรีปรากฏให้เห็นในรูปทรงใด
     1.  รูปทรงลูกบาศก์
     2.  รูปทรงเหลี่ยม
     3.  รูปทรงปริซึม
     4.  รูปทรงกระบอก
     5.  รูปทรงปิรามิด
2.   การวาดเขียนรูปร่าง รูปทรงในลักษณะต่างๆ
          2.1  การใช้เส้นโดยใช้ประสาทสัมผัส
          2.2  การใช้เส้นในการวาดเขียนโครงสร้าง และรูปทรงต่างๆ
          2.3  การแสดงมิติ ผิว มวลและปริมาตรด้วยเส้น

สาระสำคัญ
            การใช้เส้นในการวาดรูปร่างรูปทรงในลักษณะต่างๆ นั้น มีความสำคัญมากและเป็นพื้นฐานในการวาดเขียนเบื้องต้น การวาดเส้นโครงสร้างของรูปทรงต่าง ๆ อาจใช้เส้นที่เกิดจากประสาทสัมผัสในการมองแบบโดยให้สายตาสัมพันธ์กับมือหรือการใช้เส้นในการร่างภาพ หรือแสดงมิติ ผิว มวลและปริมาตรของรูปทรง

คำชี้แจง  จงเลือกคำตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงคำตอบเดียว

11.  ในการฝึกวาดเส้นคอนทัวร์ ( contour ) เพื่อจุดประสงค์ใด
     1. เพื่อสนองตอบความรู้สึกภายใน
     2. เพื่อฝึกความกล้าในการแสดงออก
     3. เพื่อความสัมพันธ์ระหว่างมือกับตา
     4. เพื่อค้นหาแนวทางการสร้างสรรค์
     5. เพื่อสร้างเสริมจินตนาการ
12.  ข้อใดจัดเป็นลักษณะเด่นของการวาดเส้นคอนทัวร์ ( contour )
     1. ลากเส้นโดยตาไม่มองหุ่นต้นแบบ
     2. ลากเส้นโดยความรู้สึกที่ตามองเห็น
     3. ลากเส้นต่อเนื่องโดยไม่ต้องยกดินสอ
     4. ลากเส้นอ่อน-แก่หลังจากมองหุ่นต้นแบบ
     5. ลากเส้นโดยอิสระ
13.  รูปทรงในข้อใดใช้เป็นโครงสร้างหลักในการวาดรูปทรงกรวย
     1. รูปทรงสามเหลี่ยม
     2. รูปทรงสี่เหลี่ยม
     3. รูปทรงพีระมิด
     4. รูปทรงกระบอก
     5. รูปทรงอิสระ
14.  ข้อใดคือรูปทรงเรขาคณิต ( geometric form )
     1. มนุษย์
     2. คลื่นลม
     3. แมงกะพรุน
     4. ต้นไม้
     5. สิ่งก่อสร้าง
15.  ข้อใดคือรูปทรงธรรมชาติ ( natural form )
     1. ควันไฟ
     2. ปลาดาว
     3. พีระมิด
     4. แก้วน้ำ
     5. รถยนต์
16.  ข้อใดคือรูปทรงอิสระ ( free form )
     1. เทียนไข
     2. ก้อนเมฆ
     3. รถยนต์
     4. ปลาดาว
     5. ปะการัง
17.  กระดาษที่ใช้สำหรับวาดเขียนมีกี่มิติ
     1. สี่มิติ
     2. สามมิติ
     3. สองมิติ
     4. หนึ่งมิติ
     5. ศูนย์มิติ
18.  การสร้างมโนทัศน์ด้วยเส้นบนผิวของรูปทรงเพื่อจุดมุ่งหมายใด
     1. คาดเดาส่วนที่มองไม่เห็น
     2. กำหนดทิศทางเส้นโครงสร้าง
     3. ค้นหาปริมาตรของรูปทรง
     4. ค้นหามวลของรูปทรง
     5. ถูกทุกข้อ
19.  มวล ( Mass ) มีความหมายตรงกับข้อใด
     1. คุณสมบัติของรูปทรง
     2. ลักษณะของรูปทรง
     3. ประเภทของรูปทรง
     4. กลุ่มของรูปทรง
     5. น้ำหนักของรูปทรง
20. ปริมาตร ( volume ) มีความหมายตรงกับข้อใด
     1. การยืดหยุ่น
     2. การกินเนื้อที่
     3. ความทึบตัน
     4. ความโปร่งใส
     5. ความควบแน่น
3.   สีและแสงเงา
          3.1  การแสดงค่าน้ำหนักของสี
          3.2  การแสดงค่าน้ำหนักของแสง
          3.3  การแสดงค่าน้ำหนักของเงา

สาระสำคัญ
         น้ำหนักของสีและแสงเงาเป็นส่วนประกอบที่สำคัญที่ทำให้ภาพดูเหมือนจริงตามแบบ การแสดงค่าน้ำหนักของสีและแสงเงาจึงเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับการวาดภาพ

คำชี้แจง  จงเลือกคำตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงคำตอบเดียว
21.  สีสันที่ต่างกันทำให้สิ่งใดต่างกันด้วย
     1. รูปทรง
     2. น้ำหนัก
     3. ขนาด
     4. พื้นผิว
     5. โครงสร้าง
22.  สีใดมีน้ำหนักอ่อนที่สุด
     1. สีแดง
     2. สีส้ม
     3. สีเขียว
     4. สีเหลือง
     5. สีชมพู
23.  สีใดมีน้ำหนักเข้มที่สุด
     1. สีเขียว
     2. สีส้ม
     3. สีชมพู
     4. สีแดง
     5. ม่วง
24.  สีใดมีน้ำหนักกลมกลืนกับสีน้ำเงินมากที่สุด
     1. สีเหลือง
     2. สีส้มแดง
     3. สีเขียวเหลือง
     4. สีม่วง
     5. สีฟ้า
25. สีในคู่ใดมีน้ำหนักตัดกันมากที่สุด
     1. สีเหลืองกับสีส้ม
     2. สีเหลืองกับสีเขียว
     3. สีเหลืองกับสีแดง
     4. สีเหลืองกับสีม่วง
     5. สีเหลืองกับสีขาว
26.  แสง ( Light ) และเงา ( Shadow ) มีความหมายตรงกับข้อใด
     1. ความเบาและความหนัก
     2. ความสว่างและความมืด
     3. การมองเห็นและการมองไม่เห็น
     4. ความกลมกลืนและการตัดกัน
     5. ความใกล้และความไกล
27.  แหล่งกำเนิดแสงธรรมชาติคือข้อใด
     1. ไฟฉาย
     2. เทียนไข
     3. หลอดไฟ
     4. ฟ้าแลบ
     5. โคมไฟ
28.  เงาตกทอดจะปรากฏในทิศทางใด
     1. ปรากฏในทิศทางเดียวกับแหล่งกำเนิดแสงด้านหน้าหุ่น
     2. ปรากฏในทิศทางตรงข้ามกับแหล่งกำเนิดแสงด้านหลังหุ่น
     3. ปรากฏในทิศทางทำมุม 90 องศากับแหล่งกำเนิดแสงด้านหน้าหุ่น
     4. ปรากฏในทิศทางทำมุม 90 องศากับแหล่งกำเนิดแสงด้านหลังหุ่น
     5. ปรากฏในทิศทางทำมุม 180 องศากับแหล่งกำเนิดแสงด้านหลังหุ่น
29.  แสงจันทร์จัดเป็นแสงลักษณะใด
     1. แสงทางเดียว
     2. แสงหลัก
     3. แสงรัศมี
     4. แสงสะท้อน
     5. แสงปริมาตร
30. แสงอาทิตย์จัดเป็นแสงลักษณะใด
     1. แสงรัศมี
     2. แสงสะท้อน
     3. แสงทางเดียว
     4. แสงเจิดจ้า
     5. แสงจัด
31. ลักษณะของแสงใดให้ความรู้สึกหดหู่เนื่องจากแหล่งกำเนิดแสงถูกบังและถูกกรองแสงไว้
     1. แสงทางเดียว
     2. แสงสองทาง
     3. แสงแบนเรียบ
     4. แสงปริมาตร
     5. แสงจันทร์
32. ระยะน้ำหนักของแสงสะท้อนปรากฏในส่วนใดของหุ่น
     1.  ส่วนของแสง
     2.  ส่วนของแสงสลัว
     3.  ส่วนของเงา
     4.  ส่วนของเงาตกทอด
     5.  ส่วนของแสงตกกระทบ
33. ระยะน้ำหนักของแสงสะท้อนจัดอยู่ในลักษณะของแสงประเภทใด
     1. แสงอาทิตย์
     2. แสงจันทร์
     3. แสงเทียน
     4. แสงไฟฉาย
     5. แสงหิ่งห้อย 
34. ระยะน้ำหนักของแสงสว่างที่สุดปรากฏในส่วนใดของหุ่น
     1. ส่วนของแสง
     2. ส่วนของแสงสะท้อน
     3. ส่วนของเงา
     4. ส่วนของเงามืด
     5. ส่วนของเงาสะท้อน
35. เงาตกทอดของวัตถุเกิดขึ้นได้อย่างไร
     1. เมื่อมีวัตถุบังแสงสว่าง
     2. เมื่อมีพื้นหรือผนังมารองรับวัตถุ    
     3. เมื่อมีพื้นหรือผนังมารองรับวัตถุที่บังแสง
     4. เมื่อมีแสงสว่างเจิดจ้าส่องกระทบวัตถุ
     5. เมื่อมีวัตถุวางบนพื้นหรือผนังรองรับ
36. แสงแบนเรียบเกิดขึ้นได้อย่างไร
     1. แสงส่องกระทบวัตถุโดยตรงจากแหล่งกำเนิดแสง
     2. แสงส่องกระทบวัตถุด้วยการสะท้อนจากวัตถุอื่นที่รับแสง
     3. แสงส่องกระทบวัตถุจากแหล่งกำเนิดแสงที่ถูกบดบัง
     4. แสงส่องกระทบวัตถุจากแหล่งกำเนิดแสงหลายทิศทาง
     5. แสงส่องกระทบวัตถุจากแหล่งกำเนิดแสงทิศทางเดียว
37. แสงปริมาตรเกิดขึ้นได้อย่างไร
     1.  แสงส่องกระทบวัตถุโดยตรงจากแหล่งกำเนิดแสง
     2.  แสงส่องกระทบวัตถุจากแหล่งกำเนิดแสงที่ถูกบดบัง
     3.  แสงส่องกระทบวัตถุจากแหล่งกำเนิดแสงหลายทิศทาง
     4.  แสงส่องกระทบวัตถุด้วยการสะท้อนจากวัตถุอื่นที่รับแสง
     5.  แสงส่องกระทบวัตถุจากแหล่งกำเนิดแสงทิศทางเดียว
38. การสร้างค่าน้ำหนักอ่อนแก่ด้วยดินสออีอี (EE ) เรียกว่าอะไร
     1. การแรเงา
     2. การแรแสง
     3. การแรแสงแรเงา
     4. การแสดงค่าน้ำหนักแสงเงา
     5. การแสดงค่าน้ำหนักของสี
39. ดินสออีอีและกระดาษสีดำเปรียบได้กับระยะน้ำหนักใดจึงจะถูกต้องที่สุด
     1. ระยะน้ำหนักที่เป็นแสงสว่าง
     2. ระยะน้ำหนักที่เป็นเงาอ่อน
     3. ระยะน้ำหนักที่เป็นเงาปานกลาง
     4. ระยะน้ำหนักที่เป็นเงาเข้มที่สุด
     5. ระยะน้ำหนักที่เป็นแสงปานกลาง
40. ดินสอสีขาวและยางลบเปรียบได้กับระยะน้ำหนักใดจึงจะถูกต้องที่สุด
     1. ระยะน้ำหนักที่เป็นแสงสว่างที่สุด
     2. ระยะน้ำหนักที่เป็นแสงสว่าง
     3. ระยะน้ำหนักที่เป็นแสงสลัว
     4. ระยะน้ำหนักที่เป็นแสงสะท้อน
     5. ระยะน้ำหนักที่เป็นแสงปานกลาง
4.  การตรวจสอบและปรับปรุงผลงาน
         4.1  การสังเกตและเปรียบเทียบโครงสร้าง ขนาด และสัดส่วนของหุ่นต้นแบบ
         4.2  การสังเกตและเปรียบเทียบลักษณะผิว ระยะ มิติ มวลและ ปริมาตรของหุ่นต้นแบบ
         4.3  การสังเกตและเปรียบเทียบค่าน้ำหนักของสี แสงและเงาของหุ่นต้นแบบ
      
สาระสำคัญ
         การตรวจสอบและปรับปรุงผลงานเป็นสิ่งสำคัญขั้นสุดท้ายที่ต้องอาศัยการสังเกตและการเปรียบเทียบโครงสร้าง ขนาดสัดส่วน ลักษณะผิว ระยะ มิติ มวล ปริมาตร ค่าน้ำหนัก สี แสงและเงาของหุ่นต้นแบบจึงได้ผลงานที่สำเร็จและสมบูรณ์

คำชี้แจง  จงเลือกคำตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงคำตอบเดียว
41. ผลไม้ในข้อใดมีโครงสร้างภายนอกคล้ายกัน
     1. กล้วย , มังคุด
     2. มังคุด  , มะพร้าว
     3. ส้มโอ , ส้มจุก
     4. ส้มจุก  , ฝรั่ง
     5. มะเฟือง , สับปะรด
42. ในการวาดภาพเรื่องราวของการหักเหของแสงมุ่งประโยชน์ด้านใด
     1. เพื่อศึกษาเรื่องโครงสร้างภายนอกของรูปทรง
     2. เพื่อศึกษาเรื่องโครงสร้างภายในของรูปทรง
     3. เพื่อศึกษาเรื่องการลวงตาของโครงสร้างรูปทรง
     4. เพื่อศึกษาเรื่องการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างของรูปทรง
     5. เพื่อศึกษาเรื่องการเปลี่ยนแปลงของรูปทรง
43. การวาดภาพผ้ายับและกระดาษยับมุ่งประโยชน์ด้านใด
     1. เพื่อศึกษาเรื่องโครงสร้างภายนอก - ภายในของรูปทรง
     2. เพื่อศึกษาความแตกต่างของโครงสร้างผ้าและกระดาษที่ยับ
     3. เพื่อศึกษาเรื่องระนาบและรอยยับของผ้ากับกระดาษ
     4. เพื่อศึกษาเรื่องค่าน้ำหนักอ่อนแก่ของแสงเงา
     5. เพื่อศึกษาเรื่องค่าน้ำหนักอ่อนแก่ของผิว
44. พื้นผิวของรูปทรงคืออะไร
     1. โครงสร้างภายนอกของรูปทรง
     2. โครงสร้างภายในของรูปทรง
     3. เรื่องราวของรูปทรงย่อยจำนวนมาก
     4. เรื่องราวการประกอบกันของทัศนธาตุทางศิลปะ
     5. เรื่องราวของจุดและเส้นจำนวนมาก
45. พื้นผิวชนิดใดที่สามารถบันทึกเรื่องราวรอบข้างได้ดีที่สุด
     1. พื้นผิวชนิดเรียบและด้าน
     2. พื้นผิวชนิดขรุขระและมัน
     3. พื้นผิวชนิดเรียบและมันวาว
     4. พื้นผิวชนิดขรุขระและมันวาว
     5. พื้นผิวด้านและมันวาว
46. ดินเผาจัดเป็นผิวประเภทใด
     1. ประเภทพื้นผิวเรียบ
     2. ประเภทพื้นผิวด้าน
     3. ประเภทพื้นผิวมัน
     4. ประเภทพื้นผิวขรุขระ
     5. ประเภทพื้นผิวหยาบ
47. พื้นผิวในกลุ่มใดกลมกลืนกันมากที่สุด
     1. แจกันเคลือบ , ขวดแก้ว
     2. แจกันเคลือบ , อิฐ     
     3. อิฐ , กระถางดินเผา ,
     4. อิฐ , หินอ่อน
     5. กระถางดินเผา , สแตนเลส
48. การหรี่ตามองหุ่นต้นแบบที่จะวาดเพื่อจุดประสงค์ใด
     1. เพื่อแยกความแตกต่างของผิว
     2. เพื่อแยกความแตกต่างของค่าน้ำหนักสี
     3. เพื่อแยกความแตกต่างของขนาดรูปทรง
     4. เพื่อแยกความแตกต่างของโครงสร้างรูปทรง
     5. เพื่อแยกความแตกต่างของระยะมิติ
49. คุณลักษณะที่ดีและสำคัญสำหรับผู้วาดภาพคือข้อใด
     1. เข้าใจในโครงสร้างของหุ่นต้นแบบ
     2. เข้าใจในหลักการวาดภาพ
     3. เข้าใจในกลวิธีการสร้างค่าน้ำหนักอ่อน - แก่
     4. รู้จักสังเกตและเปรียบเทียบหุ่นต้นแบบ
     5. เข้าใจในกลวิธีการสร้างค่าระยะน้ำหนักของแสงเงา
 50. ขั้นตอนใดทำให้ภาพที่วาดเกิดความสมบูรณ์ที่สุด
     1.  การร่างภาพ
     2.  การแรเงา
     3.  การผลักระยะ
     4.  การเก็บรายละเอียด
     5.  การลงน้ำหนัก

ไม่มีความคิดเห็น: